วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

'ดูใจ' คำนี้มาจากไหน???




จากภาพด้านบน เชื่อว่า พุทธศาสนิกชนทั้งหลายคงคุ้นเคยกันดี 

เป็นคติคำสอนที่อ้างไปถึง หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อัครเถราจารย์แห่งยุค แม่ทัพธรรมของ พระกรรมฐานโดยไปหยิบยกมาจากตอนๆหนึ่งที่ท่านพระอาจารย์มั่นเดินจงกรมในถ้ำ แล้วถูกพญานาคจ้องจับผิด

พระอาจารย์มั่นจึงกล่าวคำนี้

ของท่านหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน มีใจความดังนี้ว่า

* การตำหนิติเตียนผู้อื่น ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเองให้ขุ่นมัวไปด้วย ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดตำหนิผู้อื่นจนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรม ไม่มีดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝันการกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรอง เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง 


ซึ่งกลายเป็นว่า ชาวพุทธนั้นเอามาตีความว่า  เมื่อนับถือศาสนาพุทธแล้ว การติเตียน หรือตักเตือนใครก็ตามนั้นเป็นบาปหมด ไม่ว่าเขาจะผิด หรือ ถูก

จริงหรือ ว่าพระพุทธเจ้าตรัสเช่นนี้
จริงหรือว่า กฏแห่งกรรมเป้นเช่นนี้


เรามาทำความเข้าใจกันทีละอย่างก่อน


ในคำพูดของพระอาจารย์มั่นบอกเอาไว้ว่า

"...ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดตำหนิผู้อื่นจนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรม ไม่มีดีเลย..."

ชัดเจนว่า พระอาจารย์มั่นหมายถึงการติเตียนที่มีใจ 'อยุ่ไม่สุข' 

หากลองอ่านประวัติพระอาจารย์มั่น หรือหลวงตามหาบัวแล้ว จะพบว่า ท่านทั้งหลายที่เป็นพระป่า เกจิอาจารยืนั้น ก็ดุหรือ ตักเตือน ติเตียนลูกศิษย์ไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง เข้ารกเข้าพงอยู่เสมอ

มาพิจารณาประโยคนี้


"การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรอง เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน "


 ใช่เราไม่ควร ติเตียนผู้อื่น โดยปราศจากการไตร่ตรองหรือพยาบาท จิตเกิดโทสะ นั่นเอง จึงจะเรียกว่าเป็น 'บาป' ในคำพูดประโยคนี้ของพระอาจารย์มั่น


แล้วจะพบว่า กลุ่มศิษย์รุ่นหลังนั้น ก็จะใช้คำๆนี้ เพียงส่วนเดียวมาอ้างเสมอๆ แล้วก็บอกให้คนไป ดูจิต ดูใจ   แล้วก็จะมีคำพูดที่ทำให้น่าระอายิ่งนักคือคำว่า 'ดูใจ'



นี่คือการหลงประเด็นอย่างมากที่สุด ที่แอบอ้างครูบาอาจารย์ว่า ไม่ให้ติดเตียนใครเลย 

ถ้าเช่นนั้น สังคมก็ไม่จำเป็นต้องมีตำรวจกระนั้นหรือ?
ถ้าเช่นนั้น สังคมไม่จำเป็นต้องมีอาชีพทนายความ ผู้รักษากฏหมายกระนั้นหรือ ?
ถ้าเช่นนั้น แม่ไม่มสิทธิดุด่า สั่งสอน ตักเตือนลูกเพราะจะบาป กระนั้นหรือ?
ถ้าเช่นนั้น เมื่อเห็นโจรผู้ร้าย แล้วเราเป็นพยานได้ ให้แกล้งเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ กระนั้นหรือ??


ซ้ำร้ายในปัจจุบันนั้น  จะพบข่าวของภิกษุจำนวนมาก ที่ทำตัวนอกพระธรรมวินัย ไม่ว่าจะเป็นข่าวพระมั่วสีกา  พระเป็นเกย์ พระลวนลามเณร หรือเมาเหล้า   

กลุ่มคนเหล่านี้เอง ก็ออกมาแสดงอาการไม่พอใจที่ 'คนที่นำเสนอ หรือ แฉพฤติกรรมอลัชชีชั่วเหล่านี้' แทนที่จะ ตำหนิติเตียน เหล่าอลัชชีดังกล่าว โดยอ้างว่า ทำให้ศาสนา'เสื่อมเสีย' 

ดังเช่นภาพอันนี้  ในเครือข่ายสังคมออนไลน์




จริงหรือ ที่เราเตือน หรือ แฉ หรือติเตียนพฤติกรรมนักบวชเหล่านี้เป็นบาป???



ในสมัยพุทธกาลนั้นเคยมีกรณีเช่นนี้เหมือนกัน คือกรณีของพระอุทายีที่เกี้ยวผู้หญิงสองต่อสองในที่ลับตาคน
ท่านวิสาขาเมื่อเห็นเข้าก็เข้าไปเตือน แต่พระอุทายีนั้นหาฟังไม่ นางจึงไปฟ้องพระพุทธเจ้า

ด้วยเหตุนี้จึงมีบัญญัติสิกขาบทขึ้นสังฆาทิเสสว่าด้วยการห้ามอยุ่กับมาตุคามในที่ลับตาคน




รูปนางวิสาขาจา หนังสือการ์ตูนพุทธสาวิกาของสำนักพิมพ์ อมรินทร์


และทั้งนี้ก็ได้มีพุทธพจน์ ว่าด้วยเรื่องของการติเตียนผุ้อื่นว่าดังนี้


ปัญหา คนบางคนถืออุเบกขา ไม่ยุ่งกับคนอื่น ไม่สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญโดยกาลอันควร ไม่ติเตียนผู้ควรติเตียนโดยกาลอันควร เฉยๆ เสียสบายดีเหมือนกัน พระพุทธองค์ทรงเห็นอย่างไรในคนประเภทนี้? 

พุทธดำรัสตอบ “....ดูก่อนโปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ
 ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนโดยกาลอันควร ตามความเป็นจริง (แต่) ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑ 
ผู้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร (แต่) ไม่
ติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ๑ 
ผู้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งไม่กล่าว สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑ 
ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑ 
“ดูก่อนโปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ 
บุคคลผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร และกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร นี้ เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่าบุคคล ๔ ประเภทนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีความงาม คือความเป็นผู้รู้จักกาลในอันควรสรรเสริญและติเตียนนั้น ๆ....”

โปตลิยสูตร จ. อํ. (๑๐๐)
ตบ. ๒๑ : ๑๓๑-๑๓๔ ตท. ๒๑ : ๑๗๗-๑๗๙
ตอ. G.S. II : ๑๐๘-๑๐๙


ชัดเจนว่า แท้จริงแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า สรรเสริญการติเตียนที่ 'ถูกกาละเทศะ'  หากการติเตียนนั้น เป็นไปเพื่อมุ่งหวังให้คนที่ติเตียนนั้น  คิดได้และกลับตัวกลับใจ เลิกการกระทำนั้นเสีย
แน่นอนว่าถ้าติเตียนด้วย 'โทสะ' ก็ย่อมทำให้ใจขุ่นมัว ตามคำของท่านพระอาจารย์มั่น
แต่หาก ติเตียนโดยอิง 'อรรถ' อิงธรรม ก็ย่อมเป็นการเกื้อกูลต่อธรรมวินัย

บทสรุป


พุทธศาสนิกชนพึงไตร่ตรองเถิด  หากเอาแต่ดูใจอย่างเดียวไม่ทำอย่างอื่น แบบนี้ เท่ากับว่า ศาสนาพุทธ สอนให้คนเป็นหมาขี้แพ้กระนั้นหรือ ไม่กล้าสู้ใคร ไม่ติเตียนใคร   คิดกันอย่างนี้ทุกคน นานวันเข้ามีแต่ความเสื่อมเท่านั้น  ซ้ำร้ายทุกวันนี้ก็เห็นอยุ่แล้วว่า การดูใจ ไม่คิดต่อสู้กับความชั่วร้ายหรือหลงผิดนั้น  มีแต่เพิ่มพูลโจรผู้ร้าย เพราะคนดีนั้น 'อ่อนแอ'


ทั้งนี้ขอยก พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ห้วขึ้นมาให้พิจารณาดังนี้


"ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ..ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด
การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี
หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี
ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อคววามเดือดร้อนวุ่นวาย" ...'พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในพิธีเปิดงานลูกเสือแห่งชาติ ณ.ค่ายลูกเสือวชิราวุธ11/12/2512'



สมดังพุทธพจน์ ที่จะนำมาแสดงดังนี้ว่า


สังคมเลว เพราะคนดีอ่อนแอ
-บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๘๗/๒๘๔.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด พวกโจรมีกำลัง สมัยนั้นพระราชาย่อมเสื่อมกำลัง คราวนั้นทั้งพระราชาเองก็หมดความผาสุกที่จะเข้าใน ออกนอก หรือจะออกคำสั่งไปยังชนบท ชายแดน ถึงแม้พวกพราหมณ์ และคหบดีก็หมดความสะดวกที่จะเข้าใน ออกนอก หรือที่จะอำนวยการงานนอกเมือง ข้อนี้ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด พวกภิกษุเลวทรามมีกำลัง สมัยนั้น
 หมู่ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมเสื่อมกำลัง คราวนั้น หมู่ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก จำต้องเป็นผู้นิ่ง เงียบเชียบอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ หรือถึงกับต้องไปอยู่ตามชนบทชายแดน ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ย่อมไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่มหาชนทั้งหลาย ไม่เป็นไปเพื่อความสุข เป็นความเสียหายแก่มหาชนเป็นอันมาก และไม่เป็นไปเพื่อความเกื้อกูล เพื่อความทุกข์ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด พระราชามีกำลัง สมัยนั้น พวกโจรย่อมเสื่อมกำลัง คราวนั้น ทั้งพระราชาเอง ก็มีความผาสุกที่จะเข้าใน ออกนอก หรือจะออกคำสั่งไปยังชนบท ชายแดน ถึงแม้พวกพราหมณ์ และคหบดีก็มีความสะดวกที่จะเข้าใน ออกนอก หรือที่จะอำนวยการงานนอกเมือง ข้อนี้ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักมีกำลัง สมัยนั้น พวกภิกษุเลวทรามย่อมเสื่อมกำลัง คราวนั้น พวกภิกษุเลวทราม จำต้องเป็นผู้นิ่ง เงียบเชียบ อยู่ในท่ามกลางสงฆ์ หรือเป็นพวกที่ต้องหล่นไปเอง ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่มหาชนทั้งหลาย ให้มหาชนมีความสุข เป็นความเจริญแก่มหาชนเป็นอันมาก และเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย.

พบเห็นแล้วในปัจจุบันนี้ เพราะพวกท่านเหล่านั้นที่ชอบ ไล่คนอื่นไป 'ดูใจ' ใช่หรือไม่ ทำให้บ้านเมืองมีแต่ ผ้าเหลือง หรือ อลัชชี ที่ประพฤติพฤติกรรมโฉดชั่ว แบบไม่แคร์ญาติโยมแต่อย่างใด  เพราะคนดีชอบ 'ขัดขากันเอง' นั่นแล คือความเสื่อมของศาสนาอย่างแท้จริง

พุทธศาสนาของพระผู้มีพระภาค ไม่มีใครสามารถทำอันตรายได้ เว้นเสียแต่ว่า พุทธบริษัท ชอบขัดขากันเอง แทนที่จะประนามคนชั่ว กลับชอบแขวะคนดีกันเอง

พิจารณาโดยหัดใช้เซลล์สมองดูเองเถิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น