วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อานิสงส์แห่งการ ไปทำบุญสังเวชณียสถาน

การทำบุญในสังเวชนียสถาน ตามพุทธพจน์นั้น มีอานิสงส์อย่างมาก เทียบเท่ากับการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเลยทีเดียว

ข้อมูลจากพุทธพจน์มีดังนี้

    ดูกรอานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นที่ควรเห็นของ
กุลบุตรผู้มีศรัทธา สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง เป็นไฉน คือ
             ๑. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม
ระลึกว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้ ฯ
             ๒. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม
ระลึกว่า พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ฯ
             ๓. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม
ระลึกว่า พระตถาคตทรงยังอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ ฯ
             ๔. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม
ระลึกว่า พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในที่นี้
สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้แล เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ฯ

ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จักมาด้วยความเชื่อว่า
พระตถาคตประสูติในที่นี้ก็ดี พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้
ก็ดี พระตถาคตทรงยังอนุตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเสด็จ
ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ก็ดี ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยว
จาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

ที่มา พระไตรปิฎก
  เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๓๓๑๒ - ๓๓๓๒. หน้าที่ ๑๓๕ - ๑๓๖. http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=3312&Z=3332&pagebreak=0


สถานที่ทั้งสี่นั้นอันได้แก่

1. สวนลุมพินี  ในประเทศเนปาล 

ข้อมูลจากเว็บ wikipedia

ปัจจุบัน ลุมพินีวันได้รับการบูรณะและมีถาวรวัตถุสำคัญที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะ คือ "เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช" ที่ระบุว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ นอกจากนี้ ยังมี "วิหารมายาเทวี" ภายในประดิษฐานภาพหินแกะสลักพระรูปพระนางสิริมหามายาประสูติพระราชโอรส โดยเป็นวิหารเก่ามีอายุร่วมสมัยกับเสาหินพระเจ้าอโศก ปัจจุบัน ทางการเนปาลได้สร้างวิหารใหม่ทับวิหารมายาเทวีหลังเก่า และได้ขุดค้นพบศิลาจารึกรูปคล้ายรอยเท้า สันนิษฐานว่าเป็นจารึกรอยเท้าก้าวที่เจ็ดของเจ้าชายสิทธัตถะที่ทรงดำเนินได้เจ็ดก้าวในวันประสูติ
ลุมพินีวันได้รับการพัฒนาจากชาวพุทธทั่วโลก โดยเฉพาะจากโครงการฟื้นฟูพุทธสถานลุมพินีวันให้เป็น "พุทธอุทยานทางประวัติศาสตร์ของโลก" ซึ่งเป็นดำริของ ฯพณฯ อู ถั่น ชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ท่านตั้งใจเริ่มโครงการฟื้นฟูให้ลุมพินีวันเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธบนพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้ากว่า 6,000 ไร่ (ขนานตามแนวเหนือใต้) แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนสำหรับปลูกป่าและสร้างวัดพุทธนานาชาติจากทั่วโลกกว่า 41 ประเทศ โดยโบราณสถานลุมพินีวันตั้งอยู่ทางด้านใต้ ปัจจุบัน มีวัดไทยและวัดพุทธทั่วโลกไปสร้างอยู่จำนวนมากและมีขนาดใหญ่โต เพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนที่มาสักการะแสวงบุญ
ในปี พ.ศ. 2540 ลุมพินีวันได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก ภายใต้ชื่อ "ลุมพินี สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 21 ที่เมืองนาโปลี ประเทศอิตาลี อีกด้วย

2.สถานที่ตรัสรู้ พุทธคยา ในรัฐพิหาร (Bihar)  ประเทศอินเดียหรือเมือง กายา



รูปเจดีย์ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ ครอบต้นศรีมหาโพธิไว้

จากพุทธพจน์

ราชกุมาร! เรานั้นเมื่อหลีกไปจากสำนักอุทกผู้รามบุตรแล้ว แสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นหาแต่สิ่งที่ประเสริฐฝ่ายสันติอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า, เที่ยวจาริกไปตามลำดับหลายตำบลในมคธรัฐ จนบรรลุถึงตำบล อุรุเวลาเสนานิคม พักแรมอยู่ ณ ตำบลนั้น. ณ ที่นั้น เราได้พบภาคพื้นรมณียสถาน มีชัฏป่าเยือกเย็น แม่น้ำใสเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบเป็นอันดีน่าเพลินใจ มีบ้านสำหรับโคจรตั้งอยู่โดยรอบ. ราชกุมาร! เราได้เห็นแล้ว เกิดความรู้สึกว่า "ภูมิภาคนี้น่ารื่นรมย์จริง ชัฏป่าเย็นเยือก แม่น้ำไหลใสเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบเป็นอันดีน่าเพลินใจ ทั้งที่โคจรก็ตั้งอยู่โดยรอบ, ที่นี้สมควรเพื่อจะตั้งความเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการด้วยความเพียร" ดังนี้. ราชกุมาร! เรานั่งพักอยู่ ณ ตำบลนั้นเอง ด้วยคิดว่าที่นี้สมควรแล้วเพื่อการตั้งความเพียร ดังนี้.

— 'พระไตรปิฎกสยามรัฐ โพธิราชกุมารสุตฺตํ ราชวคฺค ม. ม. ๑๓/๔๔๘/๔๙๑'



  ปัจจุบันนั้น แม่น้ำเนรัฐชรา ที่เคยอุดมสมบูรณ์นั้นแม่น้ำกลับแห้งขอด และเต็มไปด้วยความยากจน ก้นแค้น ชวนให้น่าสังเวชเป็นอย่างยิ่ง   นี่กระมังที่จะสื่อได้ชัดเจนว่า คือ สังเวชนียสถาน ให้เกิดความเห็นในความไม่เที่ยงของโลก
บริเวณด้านหน้าของ เจดีย์ที่ครอบพุทธเมตตา



พิธีกรรมในวันวิสาขบูชาโลกที่เมืองพุทธคยา เป็นที่สามัคคีของแม่ชีทั้งพุทธมหายานและเถรวาท


มีนักบวชบางกลุ่มแต่งกายเลียนแบบสงฆ์ในพุทธศาสนา รับปัจจัยดุจขอทาน อนิจจังหนอ แม้เกิดในพุทธศาสนาแล้วแต่กลับไม่เห็นบาปบุญคุณโทษ ยังหากินกับสถานที่ตรัสรู้ 





ความยากจนในสลัมของรัฐพิหารรอบๆพุทธคยา ความเป้นอยู่อย่างยากจน


สภาพของแหล่งเสื่อมโทรม



แหล่งเสื่อมโทรมชวนสลดสังเวชอย่างยิ่ง



เจดีย์พุทธคยาวันฟ้าใส


สตรีชาวอินเดียในศาสนาฮินดูแต่มีความศรัทธาในพุทธบาทอย่างมาก








สถูป หนึ่งใน 7 เจดีย์ที่พระพุทธเจ้าทรงอยู่เสวยวิมุตติสุข

ชื่อว่า พุทธคยานี้เอง ถือว่าเป็นสถานที่สำคัญที่สุดในบรรดาสังเวชนียสถานทั้ง 7 สถานที่


บรรยากาศรอบๆ วันวิสาขบูชาโลก แม้จะต่างนิกาย ต่างศาสนา แต่ทุกๆคนมาเพื่อจุดประสงค์เดียวกันคือ
บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


3. สถานที่แสดง ธรรมจักกัปปวตนสูตร หรือเมือง สารนาฏ


ข้อมูลจากเว็บไซต์ วิกิพีเดีย ภาษาไทยกล่าวว่า

สารนาถในสมัยพุทธกาล เรียกกันว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แปลว่า เขตป่าอภัยทานแก่สัตว์ที่เป็นที่บำเพ็ญตบะของฤษี เป็นสถานที่สงบและเป็นที่ชุมนุมของเหล่าฤษีและนักพรตต่าง ๆ ที่มาบำเพ็ญตบะและโยคะเพื่อเข้าถึงพรหมมันตามความเชื่อในคัมภีร์อุปนิษัทของพรามหณ์ ทำให้เหล่าปัญจวัคคีย์ที่ปลีกตัวมาจากเจ้าชายสิทธัตถะ ภายหลังจากที่พระองค์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกขกริยา ได้มาบำเพ็ญตบะที่นี่แทน
หลังจากพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา และเทศน์โปรดปัญวัคคีย์จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด


แล้วได้ทรงพักจำพรรษาแรก ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พร้อมกับเหล่าปัญจวัคคีย์ ซึ่งในระหว่างจำพรรษาแรก พระองค์ได้สาวกเพิ่มกว่า 45 องค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระยสะริวารของท่าน 44 องค์ซึ่งรวมถึงบิดามารดาและภรรยาของพระยสะ ที่ได้มาฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์และได้ยอมรับนับถือเป็นอุบาสกอุบาสิกาที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะคู่แรกในโลกด้วย ทำให้ในพรรษาแรกที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน มีพระอรหันต์ในโลกรวม 60 องค์ และองค์พระพุทธเจ้า


นอกจากนี้ ในบริเวณสารนาถ ยังเป็นสถานที่สำคัญที่พระพุทธองค์ทรงประกาศเริ่มต้นส่งให้พระสาวกกลุ่มแรกออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาหลังจากทรงจำพรรษาแรกแล้ว[20] (เชื่อกันว่าเป็นจุดที่เดียวกับที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา คือธรรมเมกขสถูป) ดังปรากฏความตอนนี้ใน สังยุตตนิกาย สคาถวรรค[21] ว่า

...ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้ไปด้วยกัน ๒ รูป โดยทางเดียวกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง...

— สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ทุติยปาสสูตรที่ ๕


4. สถานที่ปรินิพพานเมืองกุสิณารา


เมืองแห่งนี่เป็นสถานที่สุดท้ายแห่งการแสดงธรรมเทศนาของพระองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
ในมหาปรินิพพานสูตร  เมื่อพุทธบริษัท ๔ สมบุรณ์แล้ว มารได้มาทูลพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน
ใจความสำคัญคือ   พระพุทธองค์ทรงเห้นแล้วว่า สาวกของพระองค์นั้น 'เก่ง แกล้วกล้า' มากพอ จึงกล่าวต่อมารว่า พระองค์จะดับสังขารในอีก 3 เดือนนี้

ณเวลานั้น แผ่นดินได้สั่นสะเทือนขึ้น  จนพระสาวกรู้สึกได้

พระอานนท์จึงกราบทูลถาม เมื่อทราบความเข้า ก็เสียใจเป็นอันมาก  
พระพุทธองค์ จึงกล่าวกับพระอานนท์ว่า  ได้ทรงแสดงนิมิตมาถึง 16 ครั้งก่อนจะปรินิพพาน แต่พระอานนท์กลับไม่ทราบ เนื่องมาจาก มารได้ครอบงำใจพระอานนท์นั่นเอง

ภาพจาก การ์ตูนเรื่อง พุทศาสดา





พระผู้มีพระภาคได้ตัดสินใจปรินิพพานที่เมืองกุสินารา ซึ่งเป็นเพียงเมืองเล็กๆเท่านั้น โดยมีเหตุผลดังนี้

ข้อมูลจากเว็บ วิกิพีเดีย

ในสมัยพุทธกาล เมืองกุสินาราอันเป็นที่ตั้งของสาลวโนทยานอยู่ในแคว้นมัลละ 1 ใน 16 แคว้น ซึ่งเป็นเขตการปกครองสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นแคว้นมัลละแยกเป็นสองส่วน คือ ฝ่ายเหนือมีเมืองกุสินาราเป็นเมืองหลวง เจ้าปกครองเรียกว่า "โกสินารกา" และฝ่ายใต้มีเมืองปาวาเป็นเมืองหลวง เจ้าปกครองเรียกว่า "ปาเวยยมัลลกะ" ทั้งสองเมืองนั้นตั้งอยู่ห่างกันเพียง 12 กิโลเมตร มีอำนาจในการบริหารแยกจากกัน โดยมีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (สามัคคีธรรม) โดยมีแม่น้ำหิรัญญวดีคั่นตรงกลาง กุสินารานั้นเมื่อเปรียบเทียบกับแคว้นอื่น ๆ ในสมัยพุทธกาล จัดว่าเป็นแคว้นเล็ก ไม่ค่อยมีความสำคัญมากนักในด้านเศรษฐกิจ ดังที่พระอานนท์ได้ทูลทักท้วงพระพุทธองค์ที่ทรงเลือกเมืองกุสินาราเป็นสถานที่ปรินิพพานไว้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์อย่าเสด็จปรินิพพานในเมืองดอนในฐานะเมืองกิ่งนี้เลย เมืองอื่นอันมีขนาดใหญ่กว่านี้ยังมีอยู่คือ จัมปา ราชคฤห์ สาวัตถี สาเกต โกสัมพี พาราณสี ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จดับขันธปรินิพพานในเมืองเหล่านี้เถิด กษัตริย์ผู้มีอำนาจ พราหมณ์ผู้มีบารมี เศรษฐีคหบดีผู้มั่งคั่งที่เลื่อมใสในพระองค์มีมากในเมืองเหล่านี้ ท่านผู้มีอำนาจเหล่านั้นจักได้กระทำการบูชาพระสรีระของตถาคต
— พระอานนท์[35]
สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินารา ชื่อว่า "อุปวตฺตนสาลวนํ" หรือ อุปวัตตนะสาลวัน ซึ่งในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สาลวโนทยาน แปลว่า สวนป่าไม้สาละ ป่าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี เป็นป่าไม้สาละร่มรื่น ซึ่งหลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์แล้ว กษัตริย์แห่งมัลละก็ได้ประดิษฐานพระพุทธสรีระไว้ ณ เมืองกุสินาราเป็นเวลากว่า 7 วัน ก่อนที่จะประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ในวันที่ 8 แห่งพุทธปรินิพพาน
การที่พระพุทธองค์ทรงเลือกเมืองกุสินาราอันเป็นเมืองเล็กแห่งนี้เป็นสถานที่ปรินิพพาน มีหลายสาเหตุ แต่สาเหตุสำคัญ คือ ทรงทราบดีว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว พระสรีระและพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จักถูกแว่นแคว้นต่าง ๆ แย่งชิงไปทำการบูชา หากพระองค์ปรินิพพานในเมืองใหญ่ เมืองใหญ่เหล่านั้นอาจไม่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้เมืองเล็ก ๆ เช่น เมืองกุสินารา เป็นต้น ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะหลังพระพุทธองค์ปรินิพพาน เจ้าผู้ครองแคว้นต่าง ๆ ก็ได้ยกกองทัพหลวงของตนมาล้อมเมืองกุสินาราเพื่อจะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ แต่ด้วยความที่กุสินาราเป็นเมืองเล็ก จึงต้องยอมระงับศึกโดยแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทุกเมืองโดยไม่ต้องเกิดสงคราม



นับว่าพระพุทธองค์ทรงมองการณ์ไกลอย่างยิ่ง เพียงเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม จึงทรงเหนื่อยถึงเพียงนี้ เพื่อไม่ให้เกิดสงครามแย่งชิง สารีริกธาตุ

แล้วพวกเรา ศาสนิกชนชาวไทยเล่า  ตอนครูบาอาจารย์ เช่น หลวงตามหาบัว กำลังจะละสังขารนั้น มีแต่การแย่งพระสารีริกธาตุ  หนักไปกว่านั้น ยังแย่งชานหมาก หรือร้ายที่สุดคือ 'ขี้' ของหลวงตามหาบัวมา  โอ้หนอศาสนิกชน โปรดศึกษาพุทธประวัติเสียบ้างเถิด  พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในกาลสุดท้ายว่า

"อานนท์ บางทีพวกเธอพึงมีความคิดเช่นนี้ว่า ปาพจน์(ศาสนา) เมื่อพระพุทธองค์ดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่ควรดำริว่าพระศาสดาของเราปรินิพพานแล้ว ศาสดาของเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงคิดเช่นนั้น ด้วยแท้จริงแล้ว 

ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้วและบัญญัติไว้แก่พวกเธอแล้ว ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอโดยกาลล่วงไปแห่งเรา แทนเรา"


นี่มิใช่หรือสิ่งที่ศาสนิกชนชาวพุทธควรสนใจศึกษา  มิใช่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งอสุภะ สกปรก  หลงในตัวบุคคล หากยังมิได้ปฏิบัติ ก็ยังมิเชื่อว่า ได้บูชาพระตถาคตอย่างถึงที่สุด
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทาน ปัจฉิมโอวาท ดังความว่า
"อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ"
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันว่าสังขารทั้งหลาย ย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด ”
นี่แลคือกาลสุดท้ายในการปรินิพพานของพระตถาคต
 
ท่านทั้งหลายอย่าพึงประมาทอยู่เลย  การปฏิบัติตามสติปัฏฐานต่างหาก คือ ทางสายเอกที่พระพุทธองค์แนะนำไว้ จึงชื่อว่า 'พึ่งตน พึ่งธรรม' อย่างแน่นอน


    ในครั้งหน้า ผู้เขียนจะรวบรวมอานิสงส์จากการทำสิ่งเล็กๆน้อยๆต่อการบูชาพระตถาคตมาให้ในครั้งต่อไป
ขอบคุณภาพจาก wikipedia

บทสรุป


การได้ไปเยือน สังเวชนียสถานเหล่านี้ แท้จริงแล้ว การที่พระพุทธองค์แนะนำให้มาเยือนสถานที่ทั้งสี่นี้ ก็เนื่องด้วยมาจาก ปุถุชนจำนวนมากเป็นผู้ที่มีอินทรีย์อ่อน  การจะระลึกถึงสิ่งที่เป็น นามธรรมแบบ จิต เจตสิก รูป นิพพาน อันเป็นปรมัตถ์ธรรมชั้นสูงนั้น กระทำได้ยาก

หากการบูชาพระตถาคตนั้น หากเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่น เจดีย์ สถูป สารีริกธาตุ พระพุทธรูป ล้วนแต่เป็นสมมติบัญญัติที่ทำให้สามารถทำจิตให้เลื่อมใส เข้าถึงพุทธานุสติได้โดยง่าย   เพียงระลึกถึงพระพุทธเจ้านั้นมีอานิสงส์มากมาย ในพระไตรปิฎก ไม่ว่าจะเป็น การถวายลานเจดีย์ การบูรณะซ่อมแซม หรือการใช้ดอกไม้บูชาสถูป
พระสาวกบางท่านก็ไม่รู้จักทุกคติเลย และได้พบกับพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้ายแล้วบรรลุอรหันต์ในที่สุด

ดังนั้น หากท่านใดมีกำลังสามารถไปได้ ก็ควรไปอย่างน้อยสักสถานที่เถิด   ผู้เขียนบล็อกไปเพียงที่เดียว ก็สัมผัสถึงความศรัทธาของผู้คนได้ และสลดสังเวช ถึงกฏแห่งไตรลักษณ์  อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น