วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความหมายของคำว่าพระ

ในทุกวันนี้ เรามักจะได้ยินข่าวเสื่อมเสียจาก นักบวชห่มผ้าเหลืองสม่ำเสมอ แล้วมักพูดคำว่า 'พระ'




สุดทน! แจ้งจับพระเขมรอาละวาด บิณฑบาตรับแต่เงินสดชาวบ้านสุดทน! แจ้งตำรวจเชียงใหม่มาสแกนพระจากเขมร หลังนำอาหารคาวหวานมาใส่บาตร แต่กลับไม่รับ รับแต่เงินสด คุมตัวไปลาสิกขา ดิ้นไม่ยอมสึก อ้างไม่มีความผิด ตร.ทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากยังอยู่ในชายผ้าเหลือง ทำได้แค่ผลักดันออกนอกประเทศ


คำว่า 'พระ' แท้จริงมาจากคำว่า 'วร' บาลี อ่านว่า 'วะ-ระ' แปลว่า ผู้ประเสริฐหากมีคำว่าสงฆ์​  



คำว่า สงฆ์ หรือ สังฆะ  แปลว่า ผู้ลอยแล้วจากบาป
ในนิยามของพระผู้มีพระภาค จากบทสวดสรรเสริญพระสังฆคุณคือ
  คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับรวมได้ 8 บุรุษ
ได้แก่  ผู้ปฏิบัติได้
โสตาปัตติมรรค โสตาปัตติผล สกิทาคามีมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหันตมรรค อรหันตผล


ส่วนสมมติสงฆ์นั้น หมายถึง สงฆ์ปุถุชนตั้งแต่  ๔ รูปขึ้นไป และต้องมีศีลบริบูรณ์ (คือไม่ผิดอาบัติ 227 ข้อ คือ ปลงอาบัติมาแล้ว หรือไม่มีอาบัติติดตัวเลย)

ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า การทำบุญกับสงฆ์นั้น ยากเย็นเสียจริงๆ เพราะจะหาผู้มีคุณสมบัติดังกล่าวเช่นนั้นยากมาก


ขอความกรุณา ศาสนิกชนและสื่อทั้งหลาย พึงอย่าใช้คำว่า 'พระ' กับบุคคลเหล่านี้เลย   คนเหล่านี้นั้น เป็นเพียง เศษซากศพ เดินได้ หรือ อลัชชีชั่วที่มาหากินกับพุทธศาสนาเท่านั้น

ดังพุทธพจน์ว่า



             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม มีความประพฤติไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว ไม่ใช่สมณะปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เสียใน ชุ่มด้วยราคะเป็นดุจหยากเยื่อ สงฆ์ไม่ยอมอยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แต่เขาก็ชื่อว่าห่างไกลจากสงฆ์และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา เปรียบเหมือนมหาสมุทร ไม่เกลื่อนกล่นด้วยซากศพเพราะคลื่นย่อมซัดเอาซากศพในมหาสมุทรเข้าหาฝั่ง ให้ขึ้นบก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม ... และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขานี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาประการที่ ๓ ... ฯ




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น