วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ข้อเท็จจริงของ รัตนสูตร :พระพุทธเจ้าสั่งทำน้ำมนต์จริงหรือ



เนื้อความจาก
ในพระไตรปิฎก อรรถกถา
.. อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ รัตนสูตรในขุททกปาฐะ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=7

โดยย่อแล้ว

  รัตนสูตรเป็นพระสูตรที่พระอานนทเถระเรียนจากพระพุทธองค์โดยตรงเพื่อใช้สวดขจัดปัดเป่าภัยพิบัติที่เกิดกับชาวกรุงเวสาลี พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระเถระน้อมเอาคุณของพระรัตนตรัยคือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทำสัจกิริยาให้เกิดเป็นอานุภาพขจัดปัดเป่าภัยพิบัติทั้งหลาย
เนื้อความรัตนสูตรท่อนแรกเริ่มต้นด้วยการแนะนำให้เหล่าภูตทั้งหลายได้อนุโมทนาบุญกุศลที่หมู่มนุษย์อุทิศให้และเมื่ออนุโมทนาแล้วขอให้เกิดความเมตตาทำการรักษามนุษย์ทั้งหลายเนื้อความท่อนต่อมาเป็นการอ้างคุณพระรัตนตรัยเป็นสัจวาจาให้เกิดความสวัสดี

          ส่วนท่อนสุดท้ายเป็นคำกล่าวของท้าวสักกะที่ผูกขึ้นเป็นคาถาพรรณนาคุณพระรัตนตรัยเป็นสัจวาจาให้เกิดความสวัสดีภายหลังรัตนสูตรได้กลายเป็นแบบอย่างในการทำน้ำพระพุทธมนต์สำหรับพระสงฆ์สาวกต่อมาจนถึงปัจจุบัน ทุกครั้งที่มีการทำน้ำ พระพุทธมนต์ จะต้องสวดรัตนสูตรจุดประสงค์ของการสวดรัตนสูตร ก็เพื่อเป็นการขจัดภัยทั้ง ๓ ประการตามที่ปรากฏในพระสูตรคือ ข้าวยากหมากแพง (ทุพภิกขภัย) ๑ ภูตผีปีศาจทำอันตราย (อมนุสภัย) ๑ โรคภัยไข้เจ็บ (โรคภัย) ๑ ให้อันตรธานไป
ด้วยอานุภาพแห่งรัตนสูตรนี้ แม้กรุงเวสาลีจะเกิดภัยพิบัติอย่างร้ายแรง ผู้คนอดอยากล้มตายเป็นจำนวนมาก ซากศพถูกทอดทิ้งเกลื่อนนคร ภูตผีปีศาจทำอันตรายแก่หมู่มนุษย์โรคระบาดเกิดขึ้นแพร่กระจายไปทั่ว ผู้คนล้มตายเหลือที่จะนับได้ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนทเถระสวดรัตนสูตรและประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ภัยพิบัติร้ายแรงเช่นนี้ก็ยังระงับลงได้อย่างฉับพลัน



จริงอยู่ว่า พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ในมหาศีลว่า

ภิกษุเว้นจากการทำ เดรัจฉานวิชชา หรือ ห้ามทำน้ำมนต์
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังสำเร็จการเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชา เห็นปานนี้อยู่คืออะไรบ้าง ? คือ บนขอลาภผลต่อเทวดา ทำการบวงสรวงแก้บน สอนมนต์กันผีกันบ้านเรือน ทำกะเทยให้เป็นชาย ทำชายให้เป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำการบวงสรวงในที่ปลูกเรือน พ่นน้ำมนต์ บูชาเพลิงให้บ้าง ประกอบยาสำรอกให้บ้าง ประกอบยาประจุ ประกอบยาถ่ายโทษข้างบน ประกอบยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมัน หยอดหู ทำยาหยอดตา ประกอบยานัตถ์ุ ประกอบยาทำให้กัด ประกอบยาทำให้สมาน เป็นหมอป้ายยาตา เป็นหมอผ่าบาดแผล เป็นหมอกุมาร หมอพอกยาแก้ยาให้บ้างส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอเว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชา เห็นปานนั้นเสียแล้วแม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

(ภาษาไทย) สี. ที. ๙/๕๙/๑๐๓. : คลิกดูพระสูตร




หากดูโดยบริบทของการทำน้ำมนต์นั้น เป็นละอย่างกัน ในเรื่องของการพรมน้ำ หรือการ หลั่งทักษิโณทก ของพระเจ้าพิมพิสารเมื่อถวายวัดเวฬุวัณ แก่พระพุทธเจ้า





"มหาชนก็ถือรัตนะทั้ง ๗ ตามความต้องการ พระราชาทรงจับสุวรรณภิงคารอีก ทรงประพรมด้วยน้ำว่า ราชกิจของเราดำเนินตั้งต้นแต่นี้ไป แล้วเสด็จกลับ."



ถ้าดูจากบริบทนี้ การประพรมน้ำอาจจะไม่เหมือนกับการประพรมน้ำมนต์อย่างที่เราเข้าใจกัน สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นธรรมเนียมเพื่อแสดงสัญญลักษณ์ไรซักอย่าง คล้ายๆกับเรื่องการหลั่งน้ำ
พระเจ้าพิมพิสารถวายสวนเวฬุวันให้เป็นวัดแก่พระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก พระเวสสันดรในคราวที่จะยกลูกให้กับชูชกก็มีการหลั่งน้ำ เพื่อเป็นการแสดงออกว่าได้ให้ทานนั้นนั่นเอง มิใช่เดรัจฉานวิชชา หรือน้ำมนต์ในบริบทของมหาศีลแต่อย่างใด





การหลั่งน้ำทักษิโณทกในพระราชพิธี เพื่อแสดงออกถึง การเสร็จสิ้นในพิธีกรรมเชิงสัญลักษณ์

การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ประกาศอิสรภาพของ สมเด็จพระเนรศวรมหาราช 
ภาพจากหนัง พระนเรศวรมหาราช


อายสฺมา อานนฺโท ปริตฺตตฺถาย ภาสมาโน ภควโต ปตฺเตน
อุทกมาทาย สพฺพํ นครํ อพฺภุกฺกิรนฺโต อนุวิจริ ฯ

แปลว่า: ท่านพระอานนท์ผู้มีอายุ ผู้สวดอยู่ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันรักษา ถือเอาแล้วซึ่งน้ำด้วยบาตรของพระผู้มีพระภาค ประพรมอยู่ ทั่วพระนคร เที่ยวไปแล้วโดยลำดับ
____________________________
ปุน จ ปรํ ราชา จกฺกวตฺตี วาเมน หตฺเถน สุวณฺณภิงฺคารํ (๒)
คเหตฺวา ทกฺขิเณน หตฺเถน จกฺกรตนํ อพฺภุกฺกิรติ ปวตฺตตุ
ภวํ จกฺกรตนํ อภิวิชินาตุ ภวํ จกฺกรตนนฺติ ฯ

แปลว่า: อีกประการหนึ่ง พระราชาผู้เป็นเจ้าจักรพรรดิถือเอาแล้วซึ่งสุวรรณภิงคารด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงประพรมอยู่ซึ่งจักรรัตนะด้วยพระหัตถ์ขวา "ท่านจงเป็นไป จักรรัตนะ ท่านจงมีชัย จักรรัตนะ" ดังนี้
____________________________
ปุน ราชา สุวณฺณภิงฺคารํ คเหตฺวา อิโต ปฏฺฐาย มม รชฺชนฺติ อุทเกน อพฺภุกฺกิริตฺวา นิวตฺตติ ฯ

แปลว่า: พระราชา ถือเอาแล้ว ซึ่งสุวรรณภิงคาร อีก ทรงประพรมแล้วด้วยน้ำว่า "ความเป็นพระราชา ของเรา ตั้งแล้ว แต่นี้" ย่อมเสด็จกลับ


คำที่แปลว่า ประพรม ก็คือ อพฺภุกฺกิร (อภิ+อุ+กิร) = ซัดออกไป, ทำให้กระจายออกไป (เมื่อใช้กับน้ำจึงแปลเป็น "ประพรม")

ส่วนใน ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
ข้อ [๒๕], [๑๒๐], [๑๖๓], [๑๙๕], [๒๓๕], [๒๕๕], [๒๕๖], [๒๗๐], [๒๗๙], [๓๒๐], [๓๔๒], [๓๖๓], [๓๘๓]
ใช้คำว่า อาจมนํ และ นฺหาปนํ

อาจมนํ (การชำระล้าง) ภาคภาษาไทยแปลว่า พ่นน้ำมนต์
อรรถกถาอธิบายว่า "อาจมนํ ได้แก่ ใช้น้ำล้างปากให้สะอาด." ::: ตรงนี้น่าจะแปลว่า "การชำระล้างหน้าให้บริสุทธิ์" มากกว่า พิจารณาจากตัวบาลี ::(อุทเกน มุขสุทฺธิกรณํ)"


โดยบริบทในอินเดียมีความเชื่อในเรื่องของการล้างบาป โดยจะใช้น้ำในการล้างบาป ดังนั้น อาจมนํ (การชำระล้่าง) และ นฺหาปนํ (การอาบน้ำ) ก็น่าจะเป็นเรื่องทำนองนี้ แต่ที่ท่านแปลว่าพ่นน้ำมนต์-รดน้ำมนต์คงจะมาจากการแปลตามบริบทสังคมไทยที่พบเห็น แต่ก็เอาล่ะ ถึงแม้ถ้าดูตามศัพท์แล้วมันจะไม่ใช่เป๊ะ ๆ ก็ตาม แต่ก็จัดว่าการเป่าน้ำมนต์พ่นน้ำหมากอยู่ในกลุ่มเดรัจฉานวิชานี้เอง คนที่มีพระธรรมวินัยเป็นสาระคงจะไม่ยุ่งกับเรื่องพวกนี้แน่นอน




ภาพพราหมณ์ในศาสนาฮินดูล้างบาปในแม่น้ำคงคา





ตัวอย่างการใช้คำว่า นฺหาปน-การอาบ ในที่อื่นๆ

ยถา วา ปเนเก โภนฺโต สมณพฺราหฺมณา สทฺธาเทยฺยานิ
โภชนานิ ภฺุชิตฺวา เต เอวรูป มณฺฑนวิภูสนฏฺานานุโยคํ อนุยุตฺตา วิหรนฺติ ฯ เสยฺยถีทํ ฯ อุจฺฉาทนํ (๑) ปริมทฺทนํ (๒) นฺหาปนํ (๓) ...

ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตกแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เห็นปานนี้ คือ อบตัว (๑) ไคลอวัยวะ (๒) อาบน้ำหอม (๓)

ทฺวินฺนาห ภิกฺขเว น สุปฺปฏิการ วทามิ กตเมส
ทฺวินฺน มาตุ จ ปิตุ จ ฯ เอเกน ภิกฺขเว อเสน มาตร
ปริหเรยฺย เอเกน อเสน ปิตร ปริหเรยฺย วสฺสสตายุโก วสฺสสตชีวี
โส จ เนส อุจฺฉาทนปริมทฺทนนฺหาปนสมฺพาหเนน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้ง ๒ ท่าน ทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดา ด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่งเขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขา พึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด [การให้อาบน้ำ] และการดัด

แสดงว่า นฺหาปน = การอาบ เป็นคำกลางๆ จะหมายถึงอาบอะไรก็ได้ แล้วแต่บริบท ถ้าในบริบทแบบไทยๆก็อาจจะใช้หมายถึงอาบน้ำมนต์ก็ได้เหมือนกัน เพราะน้ำมนต์ก็จัดเป็นเดรัจฉานวิชาอยู่แล้ว



ถ้าเป็นลักษณะที่ประกอบด้วย 'โมหะ' แน่นอนว่า การใช้น้ำรด หรือชำระล้างเป็นเดรัจฉานวิชชาแน่นอน


ขันน้ำมนต์ ที่ทำให้ชาวบ้านเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์


พิธีเป่าเสก


รดน้ำมนต์เหมือนการชำระบาปของพราหมณ์ ฤาษีชีไพร


บทสรุป


สาธุชน พึงแยกประเด็นให้ออกเถิดว่า
1. พระพุทธเจ้าสั่งห้ามทำเดรัจฉานวิชชา สั่งห้ามทำน้ำมนต์ โดยมีความคิดเชื่อว่า 'ล้างบาปได้'  มิฉะนันศาสนาพุทธ ก็มิต่างอะไรจากศาสนาเทวนิยม ที่ลงไปล้างบาปในแม่น้ำ หรือถือศีลจุ่มล้างบาปแต่อย่างใดเลย นี่มิใช่คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่จะมาสอนทำน้ำมนต์ และสงฆ์มีอาบัติอีกด้วย

2. น้ำมนต์ในลักษณะการชำระล้าง เป็นเดรัจฉานวิชชา
3. การหลั่งน้ำทักษิโณทก เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ (เช่นกรวดน้ำ พรมน้ำ รดน้ำลงดิน)ไม่ใช่เดรัจฉานวิชชา เป็นสเมือนแค่การให้ทราบว่า การกระทำนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ทำบุญเสร็จแล้ว  
4. เป็นในแง่ของสำนวนการ 'แปล' บาลี ที่ใช้คำศัพท์คนละคำ โดยตามบริบทของสังคมไทย ที่ใช้ลักษณะ เหมารวมเหมดว่า การ 'ประพรม'หรือหลั่งทักษิโณทก กับการ อาบน้ำล้างบาปเพื่อรดน้ำมนต์นั้นเป็นสิ่งเดียวกัน

อย่าแอ๊บเนียนว่า พระพุทธเจ้าสั่งพระอานนท์ทำ 'น้ำมนต์'
อย่าเหมาว่า การรดน้ำ 'ทุกชนิด' คือน้ำมนต์ รวมถึงพุทธมนต์  

ในบท พุทธมนต์นั้น สาระสำคัญเกี่ยวกับ 'สัจจะวาจาทั้งสิ้น' จึงทำให้เภทภัยหายไป มิใช่เกี่ยวกับน้ำที่ประพรมแต่อย่างใด   น้ำที่ปะพรม เป็นเพียงการกระทำเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น  

และมิได้มีการเอาเทียนหยด เป่าเสก ทำพิธี เหมือนที่เราเห็นกันทุกวันนี้เลย


ดังนั้น หยุดเถิด ทั้งผู้ที่เหมารวมว่าพุทธมนต์เป็นเดรัจฉานวิชชา และ ผู้ที่บอกว่า
พระพุทธเจ้าสั่งพระอานนท์ทำน้ำมนต์
เป็นการกล่าวตู่ทั้งพระผู้มีพระภาค และพระอานนท์อย่างรุนแรง






12 ความคิดเห็น:

  1. ตถาคตสอนเป้นวิทยาศาสตร์เสมอ เช่นมงคล38ไม่มีข้อไหนเอียงไปทางไสยศาสตร์เลย
    จึงเป้นไปไม่ได้ ที่พระองค์สั่งใหหพระอานนท์ทำน้ำมนต์ รักษาคนป่วย แต่พระองคืให้พระอานนท์สวดมนตืเพื่อให้กำลังใจชาวบ้านมากกว่า การที่พระอานนท์พรมน้ำในบาตรหลังสวดก้เป้นสัญญลักษณ์เสริมกำลังใจพระอานนท์ซึ่งยังไม่บรรลุอรหันต์ ย่อมปริวิตกเหมือนชาวบ้าน ชาวบ้านเองเห้นพระอานนทืภาวนาสี่ทิศ พร้อมพรมน้ำมนต์ก้เกิดขวัญกำลังใจ จนโรคระบาดสงบไปเอง ตามกฏอนิจจัง

    ตอบลบ
  2. คุณเอาข้อมูลมาผิดพลาด คือไม่ครบ มีการรดน้ำมนต์ด้วย ไม่ใช่แค่พ่นน้ำมนต์อย่างเดียว เพราะฉะนั้นแก้ไขซะ คำพระพุทธเจ้าไม่มีขัดแย้งกัน พระองค์พูดอย่างไรจะทำอย่างนั้น ทำอย่างไรจะพูดอย่างนั้น ถ้าพระสูตรขัดแย้งกันไม่ใช่คำของตถาคตแน่นอน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. อ่านให้แตกทั้งหมดครับ อย่าสะเหร่อโชว์ความโง่ในบาลีเท่าหางอึ่ง

      ลบ
    2. ค้นหาในE-Tipitakaไม่เจอ การรู้บาลีหรือไม่รู้นั้นไม่ได้วัดว่าคุณNanaly Yutศรัทธาตถาคตสูงสุดครับ จากคำที่คุณNanaly Yutตอบมารู้ด้วยการสนทนาเลยว่าคุณNanaly Yutยังถือตัวถือตน มีอัสมิมานะมากพอสมควร ดูถูก เสียดสีคนอื่น เหล่านี้ที่คุณแสดงออกอยู่ในอกุศลกรรมบท10ว่าด้วยวาจา

      ลบ
    3. พล่ามอยู่ ว่างมากหรือไง วัดนาป่าเถื่อน

      ลบ
  3. บรรพชิตเว้นขาเจากเรื่องทางโลกแล้วครับถ้าจะศึกษาประไตรปิฎกควรบอกด้วยว่าเป็นตถาคตภาษิตหรือสาวกภาษิตดังเช่นในอรรถกถานั้นเองข้อความจะคลาดเคลื่อนได้แล้วดันตรงกับทิฐฐิของตนเองจึงกล่าวโดยไม่ยอมฟังความจริงสรุปเรามีพระศาสดาองค์เดียวกันไหมครับ..ท่านก็บอกอยู่ว่าอนาคตจะมีคำแต่งคำสอนของท่านใหม่เธออย่าฟังด้วยดีอย่าเงี่ยหูฟังอย่าตั้งจิตที่จะรู้ถั่วถึงและอย่าสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษา..ศาสนาจะสั้นลงก็เพราะแบบนี้แหละครับพระพุทธเจ้าคนเดียวที่มีคำพูดที่เป็นอกาลิโกและเป็นสรรพพัญญูสามารถรู้ทุกสิ่งได้ไม่จำกัดการณ์เก่งที่สุดความรู้ตรงนี้สาวกเทียบไม่ได้ครับ

    ตอบลบ
  4. บรรพชิตเว้นขาเจากเรื่องทางโลกแล้วครับถ้าจะศึกษาประไตรปิฎกควรบอกด้วยว่าเป็นตถาคตภาษิตหรือสาวกภาษิตดังเช่นในอรรถกถานั้นเองข้อความจะคลาดเคลื่อนได้แล้วดันตรงกับทิฐฐิของตนเองจึงกล่าวโดยไม่ยอมฟังความจริงสรุปเรามีพระศาสดาองค์เดียวกันไหมครับ..ท่านก็บอกอยู่ว่าอนาคตจะมีคำแต่งคำสอนของท่านใหม่เธออย่าฟังด้วยดีอย่าเงี่ยหูฟังอย่าตั้งจิตที่จะรู้ถั่วถึงและอย่าสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษา..ศาสนาจะสั้นลงก็เพราะแบบนี้แหละครับพระพุทธเจ้าคนเดียวที่มีคำพูดที่เป็นอกาลิโกและเป็นสรรพพัญญูสามารถรู้ทุกสิ่งได้ไม่จำกัดการณ์เก่งที่สุดความรู้ตรงนี้สาวกเทียบไม่ได้ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ก็แสดงให้ดูอยู่นี่ไงครับ อ่านไม่แตกเหรอ

      ลบ
  5. เป็นข้อมูลที่เราควรเข้าใจว่า อภิญามีจริง เวทมนต์มีจริง(มันมีพลังอยู่ในตัว)จะเห็นว่าเราสวดมนต์ทำวัตรเช้าวัตรเย็น นอกจากน้อมระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณหรือเจริญพุทธมนต์เพื่อให้เป็นมงคล เชื่อว่ามีพลังช่วยเราอีกแรงเพื่อช่วยหนักให้กลายเป็นเบา ช่วยทุเลาให้กลายเป็นหาย ช่วยเรื่องร้ายๆให้กลายเป็นเรื่องที่ดีได้ และที่นอกเหนือจากนั้นความศรัทธาเป็นเครื่องปลื้มใจที่สุดในโลกหากใครมีความศรัทธาก็รับการประพรมน้ำมนต์ได้ หากไม่ต้องการหรือไม่ศรัทธาก็ไม่ต้องรับครับ เพราะการปะพรมน้ำมนต์ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ทำและผู้รับ ท่านทั้งหลายจงเข้าใจเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อให้เกิดปัญญาอีกว่าในรอบๆตัวเราเองยังมีดวงวิญญาณมากมายทั้งดีและไม่ดี ถ้าหากดวงหรือเกณชตาราศีของเราดีก็ไม่มีอำนาจอะไรมุ่งร้ายหมายทำลายเราได้ หากดวงตกหรือดวงอ่อนก็จะมีปัญหาได้ครับ ฉะนั้นการปะพรมน้ำมนต์ หรือเวทมนต์บางครั้งก็พอช่วยได้ในระดับใดระดับหนึ่งได้อยู่ ถึงแม้อาจจะไม่ใช่แนวทางที่จะนำพาไปถึงพระนิพานโดยตรงแต่ก็ไปทางอ้อมได้เพราะเรายังมีความศรัทธาในคำบาลี สันสะกฤตซึ่งเป็นการสรรเสริญพระรัตนตรัย มีนะโมพุทธายะในตัว

    ตอบลบ
  6. ความจริงไม่มีสัตว์บุคคล
    เป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดด้วยปัจจัยต่างๆ

    ตอบลบ
  7. ยุคหลังพระตถาคต จะเกิดการยึดติดภาษาในพุทธพจน์บทพระบาลี ของกูถูก ของมึงผิด อย่าเชื่อมัน จงมาเชื่อกู เกิดการยึดติดตัวบุคคลอย่างงมงาย ข้อคิด 1. สำนักใด ถ้าอาจารย์เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า การสั่งสอนแนะนำลูกศิษย์ย่อมเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าตามหรือไม่ ดูตัวอย่าง พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น ลูกศิษย์สืบสายพระอริยเจ้ามาจนทุกวันนี้ ยังไม่หมด ตามที่เราเห็นปฏิปทา ทั้งอาจารย์ ทั้งศิษย์อย่างในปัจจุบัน 2.สำนักใด ถ้าอาจารย์ยังเข้าไม่ถึงความเป็นพระอริยเจ้า สั่งสอนแนะนำลูกศิษย์ทุกวัน จะเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าหรือไม่ แล้วผลที่ปรากฏศิษย์ผู้รับคำสอน เป็นอย่างไร เราต้องพิจารณาประกอบด้วย .....เราไม่ต้องถกเถียง แย้ง กัน ดูตัวเราก่อน คำสอนจะถูกหรือผิด ให้ปฏิบัติด้วนตนเองก่อน ปฏิบัติให้ถึงที่สุดแห่งความสงสัย เริมต้นที่ศีล 5 ให้จงได้ ทรงไว้ให้เป็นปกติ มองพิจารณามาที่ตัวเราถ้าศีลเรายังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์เพียงใด คำสั่งคำสอนอื่น ๆ จะถูกหรือผิด เมื่อนำมาถกเถียงกัน ก็เหมือนคนตาบอดคุยกัน การปฏิบัติให้ระงับความสงสัยก่อน แล้วพิสูจน์คำสอนนั้นให้ถึงที่สุด จะได้มีคำตอบ อย่ายึดภาษาให้หนักจนเกินไป พระพุทธเจ้า ไม่ใช่คนไทย แต่แปลคำสั่งคำสอนมาเป็นภาษาไทย จะไปยึดว่า เป้นคำสอนของพระพุทะเจ้าฉบับภาาาไทยว่าถูกต้อง ทั้งหมด ก็ไม่ใช่ ภาษาไทยเป็นภาษาที่พเราะ เพราะคำร้อยกรอง คำโวหาร พรรรณาได้ไพเราะเสนาะจับใจยิ่งนัก การนำมาสอน ผุ้มีปัญญามาก ท่านสามารถสอนด้วยคำง่าย ๆ ภาษาง่าย ที่เป็นภาษาพื้นบ้านให้คนเรียนน้อย หรือคนที่เราว่าเขา โง่ นั้นแหละ เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้ามากมาย โปรดพิจารณาด้วย

    ตอบลบ