วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ภิกษุคึกฤทธิ์ จาบจ้วงอรรถกถาจารย์ถ่มน้ำลายรดฟ้า



อ้างวินัยมุข เรื่อง ปาฏิโมกข์ 150 แต่ด่า นักธรรม ตรี โท เอก และ เปรียญธรรม ๑-๙ ว่า เดรัจฉานวิชชา



เชิญโหลด นวโกวาท 
ว่าเป็นดังที่พระคึกฤทธิ์พูดจริงหรือไม่


ตัวอย่าง



อคติ ๔
๑.   ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เรียก ฉันทาคติ
๒.   ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน เรียก โทสาคติ
๓.  ลำเอียงเพราะเขลา เรียก โมหาคติ
๔.  ลำเอียงเพราะกลัว เรียก ภยาคติ
อคติ ๔ ประการนี้ ไม่ควรประพฤติ




ตรงกับพุทธพจน์คือ 





[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
บุคคลย่อมถึงฉันทาคติ ย่อมถึงโทสาคติ ย่อมถึงโมหาคติ ย่อมถึงภยาคติ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้แล ฯ
                          ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความหลง
                          ความกลัว ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม เหมือนพระจันทร์ข้างแรม
                          ฉะนั้น ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
บุคคลย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ย่อมไม่ถึงโทสาคติ ย่อมไม่ถึงโมหาคติ ย่อมไม่ถึง
ภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้แล ฯ
                          ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง
                          ความหลง ความกลัว ยศของผู้นั้น ย่อมเต็มเปี่ยม ดุจ
                          พระจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๙
             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๔๗๐ - ๔๘๓. หน้าที่ ๒๑. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=470&Z=483&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=19
นี่น่ะหรือ ที่บอกว่า หลักสูตรนักธรรม ตรี โท เอก และที่พระ ปธ ๑-๙​ เรียนเดรัจฉานวิชชา??

สุดฮา เมื่อ อาจารย์ คึกฤทธิ์ วัดนาป่าพง ปะทะ หลวงพ่อเกษม อาจิณโล



คลิปสุดฮา หลวงพ่อเกษมกล่าว  'คำตัวเองไม่ให้ถือ เปิดสำนักหาพ่อมึงสิคึกฤทธิ์'


[PDF] เชิญโหลด หนังสือ "โสดาบันจากพระธรรมจักร"

 เชิญโหลด หนังสือ "โสดาบันจากพระธรรมจักร" รจนาโดยพระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์

เชิญดาว์นโหลดเพื่อเป็นธรรมทาน



คลิกที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่



ข้อเท็จจริงของ รัตนสูตร :พระพุทธเจ้าสั่งทำน้ำมนต์จริงหรือ



เนื้อความจาก
ในพระไตรปิฎก อรรถกถา
.. อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ รัตนสูตรในขุททกปาฐะ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=7

โดยย่อแล้ว

  รัตนสูตรเป็นพระสูตรที่พระอานนทเถระเรียนจากพระพุทธองค์โดยตรงเพื่อใช้สวดขจัดปัดเป่าภัยพิบัติที่เกิดกับชาวกรุงเวสาลี พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระเถระน้อมเอาคุณของพระรัตนตรัยคือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทำสัจกิริยาให้เกิดเป็นอานุภาพขจัดปัดเป่าภัยพิบัติทั้งหลาย
เนื้อความรัตนสูตรท่อนแรกเริ่มต้นด้วยการแนะนำให้เหล่าภูตทั้งหลายได้อนุโมทนาบุญกุศลที่หมู่มนุษย์อุทิศให้และเมื่ออนุโมทนาแล้วขอให้เกิดความเมตตาทำการรักษามนุษย์ทั้งหลายเนื้อความท่อนต่อมาเป็นการอ้างคุณพระรัตนตรัยเป็นสัจวาจาให้เกิดความสวัสดี

          ส่วนท่อนสุดท้ายเป็นคำกล่าวของท้าวสักกะที่ผูกขึ้นเป็นคาถาพรรณนาคุณพระรัตนตรัยเป็นสัจวาจาให้เกิดความสวัสดีภายหลังรัตนสูตรได้กลายเป็นแบบอย่างในการทำน้ำพระพุทธมนต์สำหรับพระสงฆ์สาวกต่อมาจนถึงปัจจุบัน ทุกครั้งที่มีการทำน้ำ พระพุทธมนต์ จะต้องสวดรัตนสูตรจุดประสงค์ของการสวดรัตนสูตร ก็เพื่อเป็นการขจัดภัยทั้ง ๓ ประการตามที่ปรากฏในพระสูตรคือ ข้าวยากหมากแพง (ทุพภิกขภัย) ๑ ภูตผีปีศาจทำอันตราย (อมนุสภัย) ๑ โรคภัยไข้เจ็บ (โรคภัย) ๑ ให้อันตรธานไป
ด้วยอานุภาพแห่งรัตนสูตรนี้ แม้กรุงเวสาลีจะเกิดภัยพิบัติอย่างร้ายแรง ผู้คนอดอยากล้มตายเป็นจำนวนมาก ซากศพถูกทอดทิ้งเกลื่อนนคร ภูตผีปีศาจทำอันตรายแก่หมู่มนุษย์โรคระบาดเกิดขึ้นแพร่กระจายไปทั่ว ผู้คนล้มตายเหลือที่จะนับได้ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนทเถระสวดรัตนสูตรและประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ภัยพิบัติร้ายแรงเช่นนี้ก็ยังระงับลงได้อย่างฉับพลัน



จริงอยู่ว่า พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ในมหาศีลว่า

ภิกษุเว้นจากการทำ เดรัจฉานวิชชา หรือ ห้ามทำน้ำมนต์
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังสำเร็จการเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชา เห็นปานนี้อยู่คืออะไรบ้าง ? คือ บนขอลาภผลต่อเทวดา ทำการบวงสรวงแก้บน สอนมนต์กันผีกันบ้านเรือน ทำกะเทยให้เป็นชาย ทำชายให้เป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำการบวงสรวงในที่ปลูกเรือน พ่นน้ำมนต์ บูชาเพลิงให้บ้าง ประกอบยาสำรอกให้บ้าง ประกอบยาประจุ ประกอบยาถ่ายโทษข้างบน ประกอบยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมัน หยอดหู ทำยาหยอดตา ประกอบยานัตถ์ุ ประกอบยาทำให้กัด ประกอบยาทำให้สมาน เป็นหมอป้ายยาตา เป็นหมอผ่าบาดแผล เป็นหมอกุมาร หมอพอกยาแก้ยาให้บ้างส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอเว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชา เห็นปานนั้นเสียแล้วแม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

(ภาษาไทย) สี. ที. ๙/๕๙/๑๐๓. : คลิกดูพระสูตร




หากดูโดยบริบทของการทำน้ำมนต์นั้น เป็นละอย่างกัน ในเรื่องของการพรมน้ำ หรือการ หลั่งทักษิโณทก ของพระเจ้าพิมพิสารเมื่อถวายวัดเวฬุวัณ แก่พระพุทธเจ้า





"มหาชนก็ถือรัตนะทั้ง ๗ ตามความต้องการ พระราชาทรงจับสุวรรณภิงคารอีก ทรงประพรมด้วยน้ำว่า ราชกิจของเราดำเนินตั้งต้นแต่นี้ไป แล้วเสด็จกลับ."



ถ้าดูจากบริบทนี้ การประพรมน้ำอาจจะไม่เหมือนกับการประพรมน้ำมนต์อย่างที่เราเข้าใจกัน สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นธรรมเนียมเพื่อแสดงสัญญลักษณ์ไรซักอย่าง คล้ายๆกับเรื่องการหลั่งน้ำ
พระเจ้าพิมพิสารถวายสวนเวฬุวันให้เป็นวัดแก่พระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก พระเวสสันดรในคราวที่จะยกลูกให้กับชูชกก็มีการหลั่งน้ำ เพื่อเป็นการแสดงออกว่าได้ให้ทานนั้นนั่นเอง มิใช่เดรัจฉานวิชชา หรือน้ำมนต์ในบริบทของมหาศีลแต่อย่างใด





การหลั่งน้ำทักษิโณทกในพระราชพิธี เพื่อแสดงออกถึง การเสร็จสิ้นในพิธีกรรมเชิงสัญลักษณ์

การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ประกาศอิสรภาพของ สมเด็จพระเนรศวรมหาราช 
ภาพจากหนัง พระนเรศวรมหาราช


อายสฺมา อานนฺโท ปริตฺตตฺถาย ภาสมาโน ภควโต ปตฺเตน
อุทกมาทาย สพฺพํ นครํ อพฺภุกฺกิรนฺโต อนุวิจริ ฯ

แปลว่า: ท่านพระอานนท์ผู้มีอายุ ผู้สวดอยู่ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันรักษา ถือเอาแล้วซึ่งน้ำด้วยบาตรของพระผู้มีพระภาค ประพรมอยู่ ทั่วพระนคร เที่ยวไปแล้วโดยลำดับ
____________________________
ปุน จ ปรํ ราชา จกฺกวตฺตี วาเมน หตฺเถน สุวณฺณภิงฺคารํ (๒)
คเหตฺวา ทกฺขิเณน หตฺเถน จกฺกรตนํ อพฺภุกฺกิรติ ปวตฺตตุ
ภวํ จกฺกรตนํ อภิวิชินาตุ ภวํ จกฺกรตนนฺติ ฯ

แปลว่า: อีกประการหนึ่ง พระราชาผู้เป็นเจ้าจักรพรรดิถือเอาแล้วซึ่งสุวรรณภิงคารด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงประพรมอยู่ซึ่งจักรรัตนะด้วยพระหัตถ์ขวา "ท่านจงเป็นไป จักรรัตนะ ท่านจงมีชัย จักรรัตนะ" ดังนี้
____________________________
ปุน ราชา สุวณฺณภิงฺคารํ คเหตฺวา อิโต ปฏฺฐาย มม รชฺชนฺติ อุทเกน อพฺภุกฺกิริตฺวา นิวตฺตติ ฯ

แปลว่า: พระราชา ถือเอาแล้ว ซึ่งสุวรรณภิงคาร อีก ทรงประพรมแล้วด้วยน้ำว่า "ความเป็นพระราชา ของเรา ตั้งแล้ว แต่นี้" ย่อมเสด็จกลับ


คำที่แปลว่า ประพรม ก็คือ อพฺภุกฺกิร (อภิ+อุ+กิร) = ซัดออกไป, ทำให้กระจายออกไป (เมื่อใช้กับน้ำจึงแปลเป็น "ประพรม")

ส่วนใน ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
ข้อ [๒๕], [๑๒๐], [๑๖๓], [๑๙๕], [๒๓๕], [๒๕๕], [๒๕๖], [๒๗๐], [๒๗๙], [๓๒๐], [๓๔๒], [๓๖๓], [๓๘๓]
ใช้คำว่า อาจมนํ และ นฺหาปนํ

อาจมนํ (การชำระล้าง) ภาคภาษาไทยแปลว่า พ่นน้ำมนต์
อรรถกถาอธิบายว่า "อาจมนํ ได้แก่ ใช้น้ำล้างปากให้สะอาด." ::: ตรงนี้น่าจะแปลว่า "การชำระล้างหน้าให้บริสุทธิ์" มากกว่า พิจารณาจากตัวบาลี ::(อุทเกน มุขสุทฺธิกรณํ)"


โดยบริบทในอินเดียมีความเชื่อในเรื่องของการล้างบาป โดยจะใช้น้ำในการล้างบาป ดังนั้น อาจมนํ (การชำระล้่าง) และ นฺหาปนํ (การอาบน้ำ) ก็น่าจะเป็นเรื่องทำนองนี้ แต่ที่ท่านแปลว่าพ่นน้ำมนต์-รดน้ำมนต์คงจะมาจากการแปลตามบริบทสังคมไทยที่พบเห็น แต่ก็เอาล่ะ ถึงแม้ถ้าดูตามศัพท์แล้วมันจะไม่ใช่เป๊ะ ๆ ก็ตาม แต่ก็จัดว่าการเป่าน้ำมนต์พ่นน้ำหมากอยู่ในกลุ่มเดรัจฉานวิชานี้เอง คนที่มีพระธรรมวินัยเป็นสาระคงจะไม่ยุ่งกับเรื่องพวกนี้แน่นอน




ภาพพราหมณ์ในศาสนาฮินดูล้างบาปในแม่น้ำคงคา





ตัวอย่างการใช้คำว่า นฺหาปน-การอาบ ในที่อื่นๆ

ยถา วา ปเนเก โภนฺโต สมณพฺราหฺมณา สทฺธาเทยฺยานิ
โภชนานิ ภฺุชิตฺวา เต เอวรูป มณฺฑนวิภูสนฏฺานานุโยคํ อนุยุตฺตา วิหรนฺติ ฯ เสยฺยถีทํ ฯ อุจฺฉาทนํ (๑) ปริมทฺทนํ (๒) นฺหาปนํ (๓) ...

ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตกแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เห็นปานนี้ คือ อบตัว (๑) ไคลอวัยวะ (๒) อาบน้ำหอม (๓)

ทฺวินฺนาห ภิกฺขเว น สุปฺปฏิการ วทามิ กตเมส
ทฺวินฺน มาตุ จ ปิตุ จ ฯ เอเกน ภิกฺขเว อเสน มาตร
ปริหเรยฺย เอเกน อเสน ปิตร ปริหเรยฺย วสฺสสตายุโก วสฺสสตชีวี
โส จ เนส อุจฺฉาทนปริมทฺทนนฺหาปนสมฺพาหเนน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้ง ๒ ท่าน ทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดา ด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่งเขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขา พึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด [การให้อาบน้ำ] และการดัด

แสดงว่า นฺหาปน = การอาบ เป็นคำกลางๆ จะหมายถึงอาบอะไรก็ได้ แล้วแต่บริบท ถ้าในบริบทแบบไทยๆก็อาจจะใช้หมายถึงอาบน้ำมนต์ก็ได้เหมือนกัน เพราะน้ำมนต์ก็จัดเป็นเดรัจฉานวิชาอยู่แล้ว



ถ้าเป็นลักษณะที่ประกอบด้วย 'โมหะ' แน่นอนว่า การใช้น้ำรด หรือชำระล้างเป็นเดรัจฉานวิชชาแน่นอน


ขันน้ำมนต์ ที่ทำให้ชาวบ้านเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์


พิธีเป่าเสก


รดน้ำมนต์เหมือนการชำระบาปของพราหมณ์ ฤาษีชีไพร


บทสรุป


สาธุชน พึงแยกประเด็นให้ออกเถิดว่า
1. พระพุทธเจ้าสั่งห้ามทำเดรัจฉานวิชชา สั่งห้ามทำน้ำมนต์ โดยมีความคิดเชื่อว่า 'ล้างบาปได้'  มิฉะนันศาสนาพุทธ ก็มิต่างอะไรจากศาสนาเทวนิยม ที่ลงไปล้างบาปในแม่น้ำ หรือถือศีลจุ่มล้างบาปแต่อย่างใดเลย นี่มิใช่คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่จะมาสอนทำน้ำมนต์ และสงฆ์มีอาบัติอีกด้วย

2. น้ำมนต์ในลักษณะการชำระล้าง เป็นเดรัจฉานวิชชา
3. การหลั่งน้ำทักษิโณทก เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ (เช่นกรวดน้ำ พรมน้ำ รดน้ำลงดิน)ไม่ใช่เดรัจฉานวิชชา เป็นสเมือนแค่การให้ทราบว่า การกระทำนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ทำบุญเสร็จแล้ว  
4. เป็นในแง่ของสำนวนการ 'แปล' บาลี ที่ใช้คำศัพท์คนละคำ โดยตามบริบทของสังคมไทย ที่ใช้ลักษณะ เหมารวมเหมดว่า การ 'ประพรม'หรือหลั่งทักษิโณทก กับการ อาบน้ำล้างบาปเพื่อรดน้ำมนต์นั้นเป็นสิ่งเดียวกัน

อย่าแอ๊บเนียนว่า พระพุทธเจ้าสั่งพระอานนท์ทำ 'น้ำมนต์'
อย่าเหมาว่า การรดน้ำ 'ทุกชนิด' คือน้ำมนต์ รวมถึงพุทธมนต์  

ในบท พุทธมนต์นั้น สาระสำคัญเกี่ยวกับ 'สัจจะวาจาทั้งสิ้น' จึงทำให้เภทภัยหายไป มิใช่เกี่ยวกับน้ำที่ประพรมแต่อย่างใด   น้ำที่ปะพรม เป็นเพียงการกระทำเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น  

และมิได้มีการเอาเทียนหยด เป่าเสก ทำพิธี เหมือนที่เราเห็นกันทุกวันนี้เลย


ดังนั้น หยุดเถิด ทั้งผู้ที่เหมารวมว่าพุทธมนต์เป็นเดรัจฉานวิชชา และ ผู้ที่บอกว่า
พระพุทธเจ้าสั่งพระอานนท์ทำน้ำมนต์
เป็นการกล่าวตู่ทั้งพระผู้มีพระภาค และพระอานนท์อย่างรุนแรง






กรณีพระคึกฤทธิ์ โสติผโล เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง บิดเบือนบาลี

คึก สติแตกเด้อ 55
ท้าตีท้าต่อย !
คึกฤทธิ์ของขึ้นกลางวัดเนินพระระยอง
ตอบคำถามสุดกวน
"ถ้าไม่เชื่อพระเจ้าอโศก ถ้างั้น ท่านห่มจีวรทำอะไร"
ตรงประเด็น "พุทธวจนะ" ไหมคะโยม
ตกลงพุทธวจนคือพระเจ้าอโศกนั่นเอง


(ลิงค์เต็ม : https://www.youtube.com/watch?v=RP4sqaOB38U )




ถามดีๆ ท้าตีท้าต่อย ถามบ่อยๆ ท้าต่อยท้าตี
ตอบคำถามโยม "จ๊ะจ๋า" ตอบปัญหาพระ "นักเลง"

Beleave in me !

ไม่ต้องแก้คำ คำของศาสดาตถาคต บริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ในตัวแล้ว
"สกิเทว แปลว่า เทวดาครั้งเดียว"





นี่สิ พุทธวจนะ ตัวจริง เสียงจริง
"ถ้าเกิดปัญหาให้ไปเลียขาวัดปากน้ำ"

อะฮ่ะ ! ตะทีมอมเมาเป่าหูสาวกนั้น ย้ำคิดย้ำทำ "ต้องรู้จักตั้งคำถามด้วยสติปัญญา อย่าเชื่อตามครูบาอาจารย์บอก ขนาดอรรถกถายังเชื่อไม่ได้เลยโยม ต้องเชื่อพุทธวจนะเท่านั้น" ครั้นพระสงฆ์ด้วยกันถามมั่ง ก็บันดาลโทสะตอบว่า "ถ้าไม่เชื่อ จะนุ่งผ้าเหลืองไปทำไม" แหมความจริงมันต้องสอนตัวเองสิ ว่าถ้าไม่เชื่อถือครูบาอาจารย์แล้ว "คุณจะบวชทำไม" บวชกับพระพุทธเจ้าได้ไหม

คึกฤทธิ์เอ๋ย หลังจากคลานเข้าวัดปากน้ำวันนั้น มันก็หมดค่าในสายตาปัญญาชนแล้ว เพราะมันเป็นดานนักการเมือง มิใช่นักการศาสนาแต่อย่างใดเลย ยิ่งแปลบาลีแบบ "โคตรมั่ว"

สกิเทว แปลว่า เทวดาครั้งเดียว
เล่นเอาเณรเรียนบาลีไวยากรณ์ยิงฟันกันทั้งประเทศ โถถัง ศาสดาคึกฤทธิ์โง่เง่าปานนั้นเชียวหรือ ไวยากรณ์ขั้นพื้นฐานยังไม่ผ่าน แต่สะเออะไปแปลพระไตรปิฎก มันก็แค่ "จำขี้ปากเขามาว่า" เท่านั้น คึกฤทธิ์เอ๋ย

ดูแต่วันนี้ไง ไปวัดเนินพระ คุยโวเรื่องประวัติศาสตร์พระเจ้าอโศก แบบกูรู้อยู่คนเดียว พอมีพระที่ท่านรู้เรื่องมั่งมาถาม ก็ตอบแบบสันดานดิบไปเลย สาวกพุทธวจนะน่าจะทำเป็นซีรี่แจกจ่ายทั่วโลกนะ จะได้เอาไว้พิจารณา "สันดาน" อาจารย์ของตัวเอง

ว่าแต่ก็น่าสงสาร "กองทัพไทย" นะ มีบุคคลากรระดับ "นายพัน" มาบวช ตั้งตนเองเป็นศาสดาแห่งพุทธวจน แต่โง่ไม่พอ ยังอันธพาลอีก "บิ๊กตู่" ไม่เชิญไปอบรมทหารในกองทัพเหรอ เด็ดๆ ขาดๆ แบบนี้ รับรองว่าใครเถียงเป็นโดนเบิ๊ดกะโหลก

เสาอโศกที่ลุมพินี หนึ่งในอนุสรณ์สถานของพระเจ้าอโศก ในการเสด็จเยือนพุทธภูมิ ซึ่งก็มีจารึกบอกเพียงเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์ไว้เพียงนิดหน่อยเท่านั้น แต่คึกฤทธิ์กลับแปลงสารเสียใหญ่โตว่า "เป็นจารึกพุทธวจนะ" ไม่รู้ว่าเคยไปอินเดียและเนปาลหรือเปล่า หรือว่าเอาแต่ไปเที่ยวเท่านั้น

ขอบคุณข่าวจาก
อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม รายงาน

18 พฤศจิกายน 2557

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความหมายของคำว่าพระ

ในทุกวันนี้ เรามักจะได้ยินข่าวเสื่อมเสียจาก นักบวชห่มผ้าเหลืองสม่ำเสมอ แล้วมักพูดคำว่า 'พระ'




สุดทน! แจ้งจับพระเขมรอาละวาด บิณฑบาตรับแต่เงินสดชาวบ้านสุดทน! แจ้งตำรวจเชียงใหม่มาสแกนพระจากเขมร หลังนำอาหารคาวหวานมาใส่บาตร แต่กลับไม่รับ รับแต่เงินสด คุมตัวไปลาสิกขา ดิ้นไม่ยอมสึก อ้างไม่มีความผิด ตร.ทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากยังอยู่ในชายผ้าเหลือง ทำได้แค่ผลักดันออกนอกประเทศ


คำว่า 'พระ' แท้จริงมาจากคำว่า 'วร' บาลี อ่านว่า 'วะ-ระ' แปลว่า ผู้ประเสริฐหากมีคำว่าสงฆ์​  



คำว่า สงฆ์ หรือ สังฆะ  แปลว่า ผู้ลอยแล้วจากบาป
ในนิยามของพระผู้มีพระภาค จากบทสวดสรรเสริญพระสังฆคุณคือ
  คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับรวมได้ 8 บุรุษ
ได้แก่  ผู้ปฏิบัติได้
โสตาปัตติมรรค โสตาปัตติผล สกิทาคามีมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหันตมรรค อรหันตผล


ส่วนสมมติสงฆ์นั้น หมายถึง สงฆ์ปุถุชนตั้งแต่  ๔ รูปขึ้นไป และต้องมีศีลบริบูรณ์ (คือไม่ผิดอาบัติ 227 ข้อ คือ ปลงอาบัติมาแล้ว หรือไม่มีอาบัติติดตัวเลย)

ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า การทำบุญกับสงฆ์นั้น ยากเย็นเสียจริงๆ เพราะจะหาผู้มีคุณสมบัติดังกล่าวเช่นนั้นยากมาก


ขอความกรุณา ศาสนิกชนและสื่อทั้งหลาย พึงอย่าใช้คำว่า 'พระ' กับบุคคลเหล่านี้เลย   คนเหล่านี้นั้น เป็นเพียง เศษซากศพ เดินได้ หรือ อลัชชีชั่วที่มาหากินกับพุทธศาสนาเท่านั้น

ดังพุทธพจน์ว่า



             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม มีความประพฤติไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว ไม่ใช่สมณะปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เสียใน ชุ่มด้วยราคะเป็นดุจหยากเยื่อ สงฆ์ไม่ยอมอยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แต่เขาก็ชื่อว่าห่างไกลจากสงฆ์และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา เปรียบเหมือนมหาสมุทร ไม่เกลื่อนกล่นด้วยซากศพเพราะคลื่นย่อมซัดเอาซากศพในมหาสมุทรเข้าหาฝั่ง ให้ขึ้นบก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม ... และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขานี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาประการที่ ๓ ... ฯ




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต 






สัตตมหาสถาน : วิดีโอ สถานที่เสวยวิมุตติสุขที่ยิ่งใหญ่ทั้ง 7 พร้อมวิดีโอ




สัตตมหาสถาน หมายถึง สถานที่เสวยวิมุติสุขที่ยิ่งใหญ่ ๗ แห่ง ที่พระพุทธองค์ได้ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง) หลังจากตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ พุทธคยา แล้ว โดยแต่ละแห่งเป็นสถานที่รอบๆ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลาแห่งละ ๑ สัปดาห์ รวม ๗ สัปดาห์ หรือ ๔๙ วัน เรียงตามลำดับดังต่อไปนี้

สัปดาห์ที่ ๑ : “พระแท่นวัชรอาสน์”

พระพุทธองค์ทรงประทับนั่งสมาธิที่ “พระแท่นวัชรอาสน์” หรือโพธิบัลลังก์ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ๗ วัน พระองค์ได้ทรงกำหนดนึกในพระหทัย เพื่อพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาทแบบตามลำดับตลอดปฐมยามแห่งราตรีนั้น แล้วมีพุทธอุทานว่า “ในการใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ผู้นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้แจ้งธรรมพร้อมด้วยเหตุ”

ในเวลากลางคืน ทรงพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาทแบบย้อนตามลำดับ คือ พิจารณาจากปลายมาจุดเริ่มแรกแล้วมีพุทธอุทานว่า “ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้แจ้งความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย”

ในปัจฉิมยาม ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาททั้งแบบตามลำดับและย้อนตามลำดับแล้วมีพุทธอุทานว่า “ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น พราหมณ์ผู้นั้นย่อมกำจัดมารและเสนามารเสียได้ ดุจพระอาทิตย์กำจัดมืดส่องแสงสว่างอยู่ในอากาศ ฉะนั้น”

หมายเหตุ : “พระมหาเจดีย์พุทธคยา” หรือ “พระมหาโพธิเจดีย์” ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” โดยมี “พระแท่นวัชรอาสน์” หรือ “โพธิบัลลังก์” ซึ่งมีความหมายว่า “พระที่นั่งแห่งมหาบุรุษผู้ใจเพชร” ประดิษฐานคั่นอยู่ระหว่างกลาง

“พระแท่นวัชรอาสน์” นี้ พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้ทรงดำริให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่รองรับเครื่องสักการบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่แต่ละครั้งพระองค์ทรงนำมาจากพระราชวังเป็นจำนวนมากมาย โคนต้นไม้ที่เห็นในภาพนื้ คือ โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ เพื่อรักษาคุ้มครองพระแท่นและต้นพระศรีมหาโพธิ์ให้ปลอดภัยจากการสัมผัสจับ ต้องของผู้เข้าชม ที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากไม่ขาดสายในแต่ละวัน ทางการจึงสร้างกำแพงล้อมต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระแท่นไว้ดั่งที่เห็นในภาพ กำแพงนี้ถูกตกแต่งด้วยพวงมาลัย ผ้าสีต่างๆ และสายธงทิวต่างๆ ที่ชาวพุทธนำมาบูชาผูกไว้รอบกำแพง จนผู้ชมเดินรอบฐานพระมหาเจดีย์พุทธคยาไม่สามารถมองเห็นพระแท่นได้ในระดับ สายตา

สัปดาห์ที่ ๒ : “อนิมิสเจดีย์”

พระพุทธองค์ทรงพระดำเนินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” เมื่อได้ระยะพอควรกับการทอดพระเนตร ก็ทรงหันกลับพระพักตร์มายืนพิจารณาต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ได้ประทับตรัสรู้ อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น ทรงลืมพระเนตรโดยมิได้กระพริบเลยตลอดสัปดาห์ เพื่อทบทวนความทรงจำต่อเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วโดยลำดับ ความหมุนเวียนผันแปรอันเกิดขึ้นตามอำนาจของสังขารจักรก็มาหยุดลงแค่นี้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้เป็นที่ให้กำเนิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสัจธรรมอันบริสุทธิ์ สามารถชำระล้างกิเลสนานาชนิดของสัตว์โลกได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ ทรงพอพระทัยในการตรัสรู้นี้เป็นอย่างยิ่ง

สถานที่นี้จึงเรียกว่า “อนิมิสเจดีย์” หรือเจดีย์ที่ไม่กระพริบตา

สัปดาห์ที่ ๓ : “รัตนจงกรมเจดีย์”

พระพุทธองค์ทรงเสด็จมาเดินจงกรมอยู่ ๗ วัน ตรงระหว่างกลางแห่ง “อนิมิสเจดีย์” กับ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” ทางด้านทิศเหนือของพระวิหารมหาโพธิสังฆาราม พุทธคยา สถานที่ตรงนั้นได้ก่อฐานปูนสูงขึ้นประมาณ ๔ ฟุตจากพื้นถนน แล้วสลักหินเป็นรูปดอกบัวโตพอประมาณ ๑๙ ดอก แสดงว่าเป็นทางเดินจงกรมของพระพุทธเจ้า

สถานที่นี้จึงเรียกว่า “รัตนจงกรมเจดีย์” หรือเจดีย์แห่งทางจงกรมที่ประดับด้วยเพชรพลอย

สัปดาห์ที่ ๔ : “รัตนฆรเจดีย์”

เทวดาได้เนรมิต “เรือนแก้ว” ขึ้นทางด้านทิศเหนือของ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” ถวายพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงเสด็จไปประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมปิฎกตลอดเวลา ๗ วัน

สถานที่นี้จึงเรียกว่า “รัตนฆรเจดีย์” หรือเจดีย์แห่งอาคารที่ประดับไปด้วยเพชรพลอย หรือเรือนแก้ว

สัปดาห์ที่ ๕ : “ต้นไทรอชปาลนิโครธ”

พระพุทธองค์ทรงเสด็จข้ามแม่น้ำเนรัญชราไปยัง “ต้นไทรอชปาลนิโครธ” หรือต้นไทรของผู้เลี้ยงแพะ ประทับอยู่ ๗ วัน ขณะเสวยวิมุตติสุขอยู่ ธิดาพญามาร ๓ ตน คือ นางราคะ นางอรตี และนางตัณหา ได้อาสาผู้เป็นบิดาเข้าไปประเล้าประโลมด้วยเสน่ห์กามคุณต่างๆ นานา แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงเอาพระทัยใส่ กลับขับไล่ไปเสีย แสดงถึงบุคลิกลักษณะอันประเสริฐของผู้ชนะตนได้แล้ว จะไม่ยอมกลับเป็นผู้แพ้อีก

สัปดาห์ที่ ๖ : “สระมุจลินท์”

พระพุทธองค์ทรงเสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณ “สระมุจลินท์” หรือสระราชาแห่งต้นมุจละ (มุจลินท์เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง คือ ไม้จิก ในปัจจุบัน ทั้ง “สระมุจลินท์” และ “ต้นมุจลินท์” ไม่มีให้เห็นแล้ว มีเพียงแต่ “สระมุจลินท์จำลอง” ที่สร้างไว้ใกล้ๆ อาณาบริเวณ พระวิหารมหาโพธิสังฆาราม พุทธคยา ทั้งนี้ เพื่อกันลืมสระมุจลินท์ดั้งเดิม) ด้วยเพราะต้นมุจลินท์ขึ้นอยู่ริมสระแห่งนั้น จึงมีชื่อว่า สระมุจลินท์

เมื่อพระองค์ทรงประทับเสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๕ ตลอด ๗ วันที่ใต้ต้นไทรอชปาลนิโครธแล้ว ก็ได้เสด็จมาประทับที่ใต้ต้นมุจลินท์หรือต้นจิกริมสระนี้ ตอนนั้นเกิดฝนตกหนักเจือด้วยลมหนาว เป็นฝนหลงฤดู ฝนตกพรำอยู่ ๗ วัน ๗ คืน ร้อนถึงพญานาคซึ่งอาศัยอยู่ในสระนี้ ขึ้นมาขดตัว ๗ รอบแลแผ่พังพานเพื่อจะป้องกันฝนและลมมิให้ถูกพระวรกาย (นี้เป็นกำเนิดของพระพุทธรูปางนาคปรก) ครั้นฝนหายแล้วก็คลายขนดออก จำแลงเพศเป็นชายหนุ่มมายืนเฝ้าต่อหน้าพระพักตร์ พระพุทธองค์จึงได้ทรงเปล่งอุทานเป็นภาษิตที่ไพเราะจับใจ ดังนี้

“ความสงบสงัดเป็นสุขสำหรับบุคคลผู้ได้เจริญธรรมอันเห็นแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด ทำให้ได้ตามรู้ตามเห็นสังขารทั้งปวงตามความเป็นจริง ทำให้สำรวมระวังตัว เลิกการเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย และสิ้นความกำหนัด คือความล่วงกามคุณทั้งหลายเสียได้ด้วยประการทั้งปวง ความละคลายการถือตน ถือว่ามีตัวมีตนให้หมดได้ เป็นความสุขอย่างยิ่ง”

สัปดาห์ที่ ๗ : “ต้นราชายตนะ (ต้นเกด)”

ในสัปดาห์ที่ ๗ สัปดาห์สุดท้ายหลังจากตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระพุทธองค์ทรงเสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ใต้ต้นเกด (ต้นราชายตนะ หรือต้นไม้ที่อยู่แห่งพระราชา) ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตลอด ๗ วัน โดยได้ทรงอดอาหารมาเป็นเวลา ๔๙ วัน

ณ ต้นราชายตนะ นี้เอง ได้มี พ่อค้าพานิช ๒ พี่น้องเป็นชาวพม่า ชื่อ “ตปุสสะ” กับ “ภัลลิกะ” นำเกวียน ๕๐๐ เล่ม เดินทางจากอุกกลชนบทผ่านมาทางตำบลพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าขณะทรงประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นราชายตนะ มีพระรัศมีอันผ่องใสงดงามยิ่งนัก ก็บังเกิดความเลื่อมใส จึงนำข้าวสัตตุผง สัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียงเดินทางของตนไปถวาย ขณะนั้นพระพุทธองค์ยังไม่มีบาตร ท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔ จึงได้น้อมนำบาตรมาถวายองค์ละใบ พระพุทธองค์ทรงดำริว่าใบเดียวก็เพียงพอแก่เรา จึงทรงอธิษฐานให้บาตรทั้ง ๔ ใบนั้นประสานเข้าเป็นใบเดียวกัน แล้วทรงรับข้าวสัตตุผง สัตตุก้อนจากพ่อค้าพานิชทั้งสอง (ในทางประวัติศาสตร์ ชาวพม่าได้ไปมาค้าขายกับชาวอินเดียมาเป็นเวลาช้านานแล้ว พอออกพรรษาน้ำหยุดท่วมนอง ชาวพม่าจะบรรทุกของใส่เกวียนมาแลกสินค้ากับชาวอินเดีย กลับไปกลับมาอยู่เป็นประจำ)

หลังจากพระพุทธองค์เสวยข้าวสัตตุผง สัตตุก้อนเสร็จแล้ว ก็ทรงแสดงธรรมและประทานอนุโมทนาแก่พ่อค้าพานิชทั้งสอง เมื่อจบพระธรรมเทศนา พ่อค้าพานิชทั้งสองก็เปล่งวาจาถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะตลอดชีวิต ไม่เปล่งวาจาถึงพระสงฆ์ เพราะขณะนั้นยังไม่มีพระสงฆ์ ประกาศตนเป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนะสองเป็นสรณะคู่แรกในพระพุทธศาสนา (เทฺววาจิกอุบาสก) ก่อนที่จะเดินทางต่อไป พ่อค้าพานิชทั้งสองได้กราบทูลขอสิ่งของที่ระลึกจากพระพุทธองค์เพื่อให้นำ กลับไปบูชาสักการะ

พระพุทธองค์ทรงเอาพระหัตถ์ลูบพระเศียร เส้นพระเกศา ๘ เส้นหลุดติดพระหัตถ์มา จึงทรงประทานให้แก่พ่อค้าพานิชทั้งสองไปเป็นการสนองความศรัทธาของเขา ชาวพม่าสองพี่น้องนี้ได้นำพระเกศาธาตุ ๘ เส้นนั้นกลับไปยังเมืองย่างกุ้ง บ้านเมืองของตน ครั้นพอถึงประเทศพม่าได้มีพิธีสมโภชพระเกศาธาตุนี้หลายวันหลายคืน และได้จัดสร้าง “พระมหาเจดีย์ชเวดากอง” เพื่อบรรจุพระเกศาธาตุ มาจนถึงตราบเท่าทุกวันนี้

หมายเหตุ : ข้าว “สัตตุผง” บาลีเรียกว่า “มันถะ” คือ ข้าวตากที่ตำละเอียด ส่วนข้าว “สัตตุก้อน” บาลีเรียกว่า “มธุบิณฑิกะ” คือ ข้าวตากที่ผสมน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นก้อนๆ



เรียบเรียงเนื้อหามาจาก : สัตตมหาสถาน สถานที่เสวยวิมุติสุขที่ยิ่งใหญ่ ๗ แห่ง/สาวิกาน้อย
www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39332
หนังสือประวัติพระพุทธเจ้า www.dharma-gateway.com
สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=20382
ภาพบันทึกและเอื้อเฟื้อโดย คุณ Venfaa Aungsumalin
facebook ท่องถิ่นธรรม พระกรรมฐาน
www.painaima.com/board/index.php?topic=213.0
www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39377



อานิสงส์แห่งการ ไปทำบุญสังเวชณียสถาน

การทำบุญในสังเวชนียสถาน ตามพุทธพจน์นั้น มีอานิสงส์อย่างมาก เทียบเท่ากับการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเลยทีเดียว

ข้อมูลจากพุทธพจน์มีดังนี้

    ดูกรอานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นที่ควรเห็นของ
กุลบุตรผู้มีศรัทธา สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง เป็นไฉน คือ
             ๑. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม
ระลึกว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้ ฯ
             ๒. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม
ระลึกว่า พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ฯ
             ๓. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม
ระลึกว่า พระตถาคตทรงยังอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ ฯ
             ๔. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม
ระลึกว่า พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในที่นี้
สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้แล เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ฯ

ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จักมาด้วยความเชื่อว่า
พระตถาคตประสูติในที่นี้ก็ดี พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้
ก็ดี พระตถาคตทรงยังอนุตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเสด็จ
ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ก็ดี ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยว
จาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

ที่มา พระไตรปิฎก
  เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๓๓๑๒ - ๓๓๓๒. หน้าที่ ๑๓๕ - ๑๓๖. http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=3312&Z=3332&pagebreak=0


สถานที่ทั้งสี่นั้นอันได้แก่

1. สวนลุมพินี  ในประเทศเนปาล 

ข้อมูลจากเว็บ wikipedia

ปัจจุบัน ลุมพินีวันได้รับการบูรณะและมีถาวรวัตถุสำคัญที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะ คือ "เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช" ที่ระบุว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ นอกจากนี้ ยังมี "วิหารมายาเทวี" ภายในประดิษฐานภาพหินแกะสลักพระรูปพระนางสิริมหามายาประสูติพระราชโอรส โดยเป็นวิหารเก่ามีอายุร่วมสมัยกับเสาหินพระเจ้าอโศก ปัจจุบัน ทางการเนปาลได้สร้างวิหารใหม่ทับวิหารมายาเทวีหลังเก่า และได้ขุดค้นพบศิลาจารึกรูปคล้ายรอยเท้า สันนิษฐานว่าเป็นจารึกรอยเท้าก้าวที่เจ็ดของเจ้าชายสิทธัตถะที่ทรงดำเนินได้เจ็ดก้าวในวันประสูติ
ลุมพินีวันได้รับการพัฒนาจากชาวพุทธทั่วโลก โดยเฉพาะจากโครงการฟื้นฟูพุทธสถานลุมพินีวันให้เป็น "พุทธอุทยานทางประวัติศาสตร์ของโลก" ซึ่งเป็นดำริของ ฯพณฯ อู ถั่น ชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ท่านตั้งใจเริ่มโครงการฟื้นฟูให้ลุมพินีวันเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธบนพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้ากว่า 6,000 ไร่ (ขนานตามแนวเหนือใต้) แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนสำหรับปลูกป่าและสร้างวัดพุทธนานาชาติจากทั่วโลกกว่า 41 ประเทศ โดยโบราณสถานลุมพินีวันตั้งอยู่ทางด้านใต้ ปัจจุบัน มีวัดไทยและวัดพุทธทั่วโลกไปสร้างอยู่จำนวนมากและมีขนาดใหญ่โต เพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนที่มาสักการะแสวงบุญ
ในปี พ.ศ. 2540 ลุมพินีวันได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก ภายใต้ชื่อ "ลุมพินี สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 21 ที่เมืองนาโปลี ประเทศอิตาลี อีกด้วย

2.สถานที่ตรัสรู้ พุทธคยา ในรัฐพิหาร (Bihar)  ประเทศอินเดียหรือเมือง กายา



รูปเจดีย์ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ ครอบต้นศรีมหาโพธิไว้

จากพุทธพจน์

ราชกุมาร! เรานั้นเมื่อหลีกไปจากสำนักอุทกผู้รามบุตรแล้ว แสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นหาแต่สิ่งที่ประเสริฐฝ่ายสันติอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า, เที่ยวจาริกไปตามลำดับหลายตำบลในมคธรัฐ จนบรรลุถึงตำบล อุรุเวลาเสนานิคม พักแรมอยู่ ณ ตำบลนั้น. ณ ที่นั้น เราได้พบภาคพื้นรมณียสถาน มีชัฏป่าเยือกเย็น แม่น้ำใสเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบเป็นอันดีน่าเพลินใจ มีบ้านสำหรับโคจรตั้งอยู่โดยรอบ. ราชกุมาร! เราได้เห็นแล้ว เกิดความรู้สึกว่า "ภูมิภาคนี้น่ารื่นรมย์จริง ชัฏป่าเย็นเยือก แม่น้ำไหลใสเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบเป็นอันดีน่าเพลินใจ ทั้งที่โคจรก็ตั้งอยู่โดยรอบ, ที่นี้สมควรเพื่อจะตั้งความเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการด้วยความเพียร" ดังนี้. ราชกุมาร! เรานั่งพักอยู่ ณ ตำบลนั้นเอง ด้วยคิดว่าที่นี้สมควรแล้วเพื่อการตั้งความเพียร ดังนี้.

— 'พระไตรปิฎกสยามรัฐ โพธิราชกุมารสุตฺตํ ราชวคฺค ม. ม. ๑๓/๔๔๘/๔๙๑'



  ปัจจุบันนั้น แม่น้ำเนรัฐชรา ที่เคยอุดมสมบูรณ์นั้นแม่น้ำกลับแห้งขอด และเต็มไปด้วยความยากจน ก้นแค้น ชวนให้น่าสังเวชเป็นอย่างยิ่ง   นี่กระมังที่จะสื่อได้ชัดเจนว่า คือ สังเวชนียสถาน ให้เกิดความเห็นในความไม่เที่ยงของโลก
บริเวณด้านหน้าของ เจดีย์ที่ครอบพุทธเมตตา



พิธีกรรมในวันวิสาขบูชาโลกที่เมืองพุทธคยา เป็นที่สามัคคีของแม่ชีทั้งพุทธมหายานและเถรวาท


มีนักบวชบางกลุ่มแต่งกายเลียนแบบสงฆ์ในพุทธศาสนา รับปัจจัยดุจขอทาน อนิจจังหนอ แม้เกิดในพุทธศาสนาแล้วแต่กลับไม่เห็นบาปบุญคุณโทษ ยังหากินกับสถานที่ตรัสรู้ 





ความยากจนในสลัมของรัฐพิหารรอบๆพุทธคยา ความเป้นอยู่อย่างยากจน


สภาพของแหล่งเสื่อมโทรม



แหล่งเสื่อมโทรมชวนสลดสังเวชอย่างยิ่ง



เจดีย์พุทธคยาวันฟ้าใส


สตรีชาวอินเดียในศาสนาฮินดูแต่มีความศรัทธาในพุทธบาทอย่างมาก








สถูป หนึ่งใน 7 เจดีย์ที่พระพุทธเจ้าทรงอยู่เสวยวิมุตติสุข

ชื่อว่า พุทธคยานี้เอง ถือว่าเป็นสถานที่สำคัญที่สุดในบรรดาสังเวชนียสถานทั้ง 7 สถานที่


บรรยากาศรอบๆ วันวิสาขบูชาโลก แม้จะต่างนิกาย ต่างศาสนา แต่ทุกๆคนมาเพื่อจุดประสงค์เดียวกันคือ
บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


3. สถานที่แสดง ธรรมจักกัปปวตนสูตร หรือเมือง สารนาฏ


ข้อมูลจากเว็บไซต์ วิกิพีเดีย ภาษาไทยกล่าวว่า

สารนาถในสมัยพุทธกาล เรียกกันว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แปลว่า เขตป่าอภัยทานแก่สัตว์ที่เป็นที่บำเพ็ญตบะของฤษี เป็นสถานที่สงบและเป็นที่ชุมนุมของเหล่าฤษีและนักพรตต่าง ๆ ที่มาบำเพ็ญตบะและโยคะเพื่อเข้าถึงพรหมมันตามความเชื่อในคัมภีร์อุปนิษัทของพรามหณ์ ทำให้เหล่าปัญจวัคคีย์ที่ปลีกตัวมาจากเจ้าชายสิทธัตถะ ภายหลังจากที่พระองค์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกขกริยา ได้มาบำเพ็ญตบะที่นี่แทน
หลังจากพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา และเทศน์โปรดปัญวัคคีย์จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด


แล้วได้ทรงพักจำพรรษาแรก ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พร้อมกับเหล่าปัญจวัคคีย์ ซึ่งในระหว่างจำพรรษาแรก พระองค์ได้สาวกเพิ่มกว่า 45 องค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระยสะริวารของท่าน 44 องค์ซึ่งรวมถึงบิดามารดาและภรรยาของพระยสะ ที่ได้มาฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์และได้ยอมรับนับถือเป็นอุบาสกอุบาสิกาที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะคู่แรกในโลกด้วย ทำให้ในพรรษาแรกที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน มีพระอรหันต์ในโลกรวม 60 องค์ และองค์พระพุทธเจ้า


นอกจากนี้ ในบริเวณสารนาถ ยังเป็นสถานที่สำคัญที่พระพุทธองค์ทรงประกาศเริ่มต้นส่งให้พระสาวกกลุ่มแรกออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาหลังจากทรงจำพรรษาแรกแล้ว[20] (เชื่อกันว่าเป็นจุดที่เดียวกับที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา คือธรรมเมกขสถูป) ดังปรากฏความตอนนี้ใน สังยุตตนิกาย สคาถวรรค[21] ว่า

...ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้ไปด้วยกัน ๒ รูป โดยทางเดียวกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง...

— สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ทุติยปาสสูตรที่ ๕


4. สถานที่ปรินิพพานเมืองกุสิณารา


เมืองแห่งนี่เป็นสถานที่สุดท้ายแห่งการแสดงธรรมเทศนาของพระองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
ในมหาปรินิพพานสูตร  เมื่อพุทธบริษัท ๔ สมบุรณ์แล้ว มารได้มาทูลพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน
ใจความสำคัญคือ   พระพุทธองค์ทรงเห้นแล้วว่า สาวกของพระองค์นั้น 'เก่ง แกล้วกล้า' มากพอ จึงกล่าวต่อมารว่า พระองค์จะดับสังขารในอีก 3 เดือนนี้

ณเวลานั้น แผ่นดินได้สั่นสะเทือนขึ้น  จนพระสาวกรู้สึกได้

พระอานนท์จึงกราบทูลถาม เมื่อทราบความเข้า ก็เสียใจเป็นอันมาก  
พระพุทธองค์ จึงกล่าวกับพระอานนท์ว่า  ได้ทรงแสดงนิมิตมาถึง 16 ครั้งก่อนจะปรินิพพาน แต่พระอานนท์กลับไม่ทราบ เนื่องมาจาก มารได้ครอบงำใจพระอานนท์นั่นเอง

ภาพจาก การ์ตูนเรื่อง พุทศาสดา





พระผู้มีพระภาคได้ตัดสินใจปรินิพพานที่เมืองกุสินารา ซึ่งเป็นเพียงเมืองเล็กๆเท่านั้น โดยมีเหตุผลดังนี้

ข้อมูลจากเว็บ วิกิพีเดีย

ในสมัยพุทธกาล เมืองกุสินาราอันเป็นที่ตั้งของสาลวโนทยานอยู่ในแคว้นมัลละ 1 ใน 16 แคว้น ซึ่งเป็นเขตการปกครองสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นแคว้นมัลละแยกเป็นสองส่วน คือ ฝ่ายเหนือมีเมืองกุสินาราเป็นเมืองหลวง เจ้าปกครองเรียกว่า "โกสินารกา" และฝ่ายใต้มีเมืองปาวาเป็นเมืองหลวง เจ้าปกครองเรียกว่า "ปาเวยยมัลลกะ" ทั้งสองเมืองนั้นตั้งอยู่ห่างกันเพียง 12 กิโลเมตร มีอำนาจในการบริหารแยกจากกัน โดยมีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (สามัคคีธรรม) โดยมีแม่น้ำหิรัญญวดีคั่นตรงกลาง กุสินารานั้นเมื่อเปรียบเทียบกับแคว้นอื่น ๆ ในสมัยพุทธกาล จัดว่าเป็นแคว้นเล็ก ไม่ค่อยมีความสำคัญมากนักในด้านเศรษฐกิจ ดังที่พระอานนท์ได้ทูลทักท้วงพระพุทธองค์ที่ทรงเลือกเมืองกุสินาราเป็นสถานที่ปรินิพพานไว้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์อย่าเสด็จปรินิพพานในเมืองดอนในฐานะเมืองกิ่งนี้เลย เมืองอื่นอันมีขนาดใหญ่กว่านี้ยังมีอยู่คือ จัมปา ราชคฤห์ สาวัตถี สาเกต โกสัมพี พาราณสี ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จดับขันธปรินิพพานในเมืองเหล่านี้เถิด กษัตริย์ผู้มีอำนาจ พราหมณ์ผู้มีบารมี เศรษฐีคหบดีผู้มั่งคั่งที่เลื่อมใสในพระองค์มีมากในเมืองเหล่านี้ ท่านผู้มีอำนาจเหล่านั้นจักได้กระทำการบูชาพระสรีระของตถาคต
— พระอานนท์[35]
สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินารา ชื่อว่า "อุปวตฺตนสาลวนํ" หรือ อุปวัตตนะสาลวัน ซึ่งในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สาลวโนทยาน แปลว่า สวนป่าไม้สาละ ป่าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี เป็นป่าไม้สาละร่มรื่น ซึ่งหลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์แล้ว กษัตริย์แห่งมัลละก็ได้ประดิษฐานพระพุทธสรีระไว้ ณ เมืองกุสินาราเป็นเวลากว่า 7 วัน ก่อนที่จะประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ในวันที่ 8 แห่งพุทธปรินิพพาน
การที่พระพุทธองค์ทรงเลือกเมืองกุสินาราอันเป็นเมืองเล็กแห่งนี้เป็นสถานที่ปรินิพพาน มีหลายสาเหตุ แต่สาเหตุสำคัญ คือ ทรงทราบดีว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว พระสรีระและพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จักถูกแว่นแคว้นต่าง ๆ แย่งชิงไปทำการบูชา หากพระองค์ปรินิพพานในเมืองใหญ่ เมืองใหญ่เหล่านั้นอาจไม่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้เมืองเล็ก ๆ เช่น เมืองกุสินารา เป็นต้น ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะหลังพระพุทธองค์ปรินิพพาน เจ้าผู้ครองแคว้นต่าง ๆ ก็ได้ยกกองทัพหลวงของตนมาล้อมเมืองกุสินาราเพื่อจะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ แต่ด้วยความที่กุสินาราเป็นเมืองเล็ก จึงต้องยอมระงับศึกโดยแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทุกเมืองโดยไม่ต้องเกิดสงคราม



นับว่าพระพุทธองค์ทรงมองการณ์ไกลอย่างยิ่ง เพียงเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม จึงทรงเหนื่อยถึงเพียงนี้ เพื่อไม่ให้เกิดสงครามแย่งชิง สารีริกธาตุ

แล้วพวกเรา ศาสนิกชนชาวไทยเล่า  ตอนครูบาอาจารย์ เช่น หลวงตามหาบัว กำลังจะละสังขารนั้น มีแต่การแย่งพระสารีริกธาตุ  หนักไปกว่านั้น ยังแย่งชานหมาก หรือร้ายที่สุดคือ 'ขี้' ของหลวงตามหาบัวมา  โอ้หนอศาสนิกชน โปรดศึกษาพุทธประวัติเสียบ้างเถิด  พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในกาลสุดท้ายว่า

"อานนท์ บางทีพวกเธอพึงมีความคิดเช่นนี้ว่า ปาพจน์(ศาสนา) เมื่อพระพุทธองค์ดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่ควรดำริว่าพระศาสดาของเราปรินิพพานแล้ว ศาสดาของเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงคิดเช่นนั้น ด้วยแท้จริงแล้ว 

ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้วและบัญญัติไว้แก่พวกเธอแล้ว ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอโดยกาลล่วงไปแห่งเรา แทนเรา"


นี่มิใช่หรือสิ่งที่ศาสนิกชนชาวพุทธควรสนใจศึกษา  มิใช่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งอสุภะ สกปรก  หลงในตัวบุคคล หากยังมิได้ปฏิบัติ ก็ยังมิเชื่อว่า ได้บูชาพระตถาคตอย่างถึงที่สุด
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทาน ปัจฉิมโอวาท ดังความว่า
"อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ"
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันว่าสังขารทั้งหลาย ย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด ”
นี่แลคือกาลสุดท้ายในการปรินิพพานของพระตถาคต
 
ท่านทั้งหลายอย่าพึงประมาทอยู่เลย  การปฏิบัติตามสติปัฏฐานต่างหาก คือ ทางสายเอกที่พระพุทธองค์แนะนำไว้ จึงชื่อว่า 'พึ่งตน พึ่งธรรม' อย่างแน่นอน


    ในครั้งหน้า ผู้เขียนจะรวบรวมอานิสงส์จากการทำสิ่งเล็กๆน้อยๆต่อการบูชาพระตถาคตมาให้ในครั้งต่อไป
ขอบคุณภาพจาก wikipedia

บทสรุป


การได้ไปเยือน สังเวชนียสถานเหล่านี้ แท้จริงแล้ว การที่พระพุทธองค์แนะนำให้มาเยือนสถานที่ทั้งสี่นี้ ก็เนื่องด้วยมาจาก ปุถุชนจำนวนมากเป็นผู้ที่มีอินทรีย์อ่อน  การจะระลึกถึงสิ่งที่เป็น นามธรรมแบบ จิต เจตสิก รูป นิพพาน อันเป็นปรมัตถ์ธรรมชั้นสูงนั้น กระทำได้ยาก

หากการบูชาพระตถาคตนั้น หากเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่น เจดีย์ สถูป สารีริกธาตุ พระพุทธรูป ล้วนแต่เป็นสมมติบัญญัติที่ทำให้สามารถทำจิตให้เลื่อมใส เข้าถึงพุทธานุสติได้โดยง่าย   เพียงระลึกถึงพระพุทธเจ้านั้นมีอานิสงส์มากมาย ในพระไตรปิฎก ไม่ว่าจะเป็น การถวายลานเจดีย์ การบูรณะซ่อมแซม หรือการใช้ดอกไม้บูชาสถูป
พระสาวกบางท่านก็ไม่รู้จักทุกคติเลย และได้พบกับพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้ายแล้วบรรลุอรหันต์ในที่สุด

ดังนั้น หากท่านใดมีกำลังสามารถไปได้ ก็ควรไปอย่างน้อยสักสถานที่เถิด   ผู้เขียนบล็อกไปเพียงที่เดียว ก็สัมผัสถึงความศรัทธาของผู้คนได้ และสลดสังเวช ถึงกฏแห่งไตรลักษณ์  อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา