วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ภิกษุคึกฤทธิ์ จาบจ้วงอรรถกถาจารย์ถ่มน้ำลายรดฟ้า



อ้างวินัยมุข เรื่อง ปาฏิโมกข์ 150 แต่ด่า นักธรรม ตรี โท เอก และ เปรียญธรรม ๑-๙ ว่า เดรัจฉานวิชชา



เชิญโหลด นวโกวาท 
ว่าเป็นดังที่พระคึกฤทธิ์พูดจริงหรือไม่


ตัวอย่าง



อคติ ๔
๑.   ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เรียก ฉันทาคติ
๒.   ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน เรียก โทสาคติ
๓.  ลำเอียงเพราะเขลา เรียก โมหาคติ
๔.  ลำเอียงเพราะกลัว เรียก ภยาคติ
อคติ ๔ ประการนี้ ไม่ควรประพฤติ




ตรงกับพุทธพจน์คือ 





[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
บุคคลย่อมถึงฉันทาคติ ย่อมถึงโทสาคติ ย่อมถึงโมหาคติ ย่อมถึงภยาคติ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้แล ฯ
                          ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความหลง
                          ความกลัว ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม เหมือนพระจันทร์ข้างแรม
                          ฉะนั้น ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
บุคคลย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ย่อมไม่ถึงโทสาคติ ย่อมไม่ถึงโมหาคติ ย่อมไม่ถึง
ภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้แล ฯ
                          ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง
                          ความหลง ความกลัว ยศของผู้นั้น ย่อมเต็มเปี่ยม ดุจ
                          พระจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๙
             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๔๗๐ - ๔๘๓. หน้าที่ ๒๑. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=470&Z=483&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=19
นี่น่ะหรือ ที่บอกว่า หลักสูตรนักธรรม ตรี โท เอก และที่พระ ปธ ๑-๙​ เรียนเดรัจฉานวิชชา??

สุดฮา เมื่อ อาจารย์ คึกฤทธิ์ วัดนาป่าพง ปะทะ หลวงพ่อเกษม อาจิณโล



คลิปสุดฮา หลวงพ่อเกษมกล่าว  'คำตัวเองไม่ให้ถือ เปิดสำนักหาพ่อมึงสิคึกฤทธิ์'


[PDF] เชิญโหลด หนังสือ "โสดาบันจากพระธรรมจักร"

 เชิญโหลด หนังสือ "โสดาบันจากพระธรรมจักร" รจนาโดยพระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์

เชิญดาว์นโหลดเพื่อเป็นธรรมทาน



คลิกที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่



ข้อเท็จจริงของ รัตนสูตร :พระพุทธเจ้าสั่งทำน้ำมนต์จริงหรือ



เนื้อความจาก
ในพระไตรปิฎก อรรถกถา
.. อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ รัตนสูตรในขุททกปาฐะ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=7

โดยย่อแล้ว

  รัตนสูตรเป็นพระสูตรที่พระอานนทเถระเรียนจากพระพุทธองค์โดยตรงเพื่อใช้สวดขจัดปัดเป่าภัยพิบัติที่เกิดกับชาวกรุงเวสาลี พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระเถระน้อมเอาคุณของพระรัตนตรัยคือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทำสัจกิริยาให้เกิดเป็นอานุภาพขจัดปัดเป่าภัยพิบัติทั้งหลาย
เนื้อความรัตนสูตรท่อนแรกเริ่มต้นด้วยการแนะนำให้เหล่าภูตทั้งหลายได้อนุโมทนาบุญกุศลที่หมู่มนุษย์อุทิศให้และเมื่ออนุโมทนาแล้วขอให้เกิดความเมตตาทำการรักษามนุษย์ทั้งหลายเนื้อความท่อนต่อมาเป็นการอ้างคุณพระรัตนตรัยเป็นสัจวาจาให้เกิดความสวัสดี

          ส่วนท่อนสุดท้ายเป็นคำกล่าวของท้าวสักกะที่ผูกขึ้นเป็นคาถาพรรณนาคุณพระรัตนตรัยเป็นสัจวาจาให้เกิดความสวัสดีภายหลังรัตนสูตรได้กลายเป็นแบบอย่างในการทำน้ำพระพุทธมนต์สำหรับพระสงฆ์สาวกต่อมาจนถึงปัจจุบัน ทุกครั้งที่มีการทำน้ำ พระพุทธมนต์ จะต้องสวดรัตนสูตรจุดประสงค์ของการสวดรัตนสูตร ก็เพื่อเป็นการขจัดภัยทั้ง ๓ ประการตามที่ปรากฏในพระสูตรคือ ข้าวยากหมากแพง (ทุพภิกขภัย) ๑ ภูตผีปีศาจทำอันตราย (อมนุสภัย) ๑ โรคภัยไข้เจ็บ (โรคภัย) ๑ ให้อันตรธานไป
ด้วยอานุภาพแห่งรัตนสูตรนี้ แม้กรุงเวสาลีจะเกิดภัยพิบัติอย่างร้ายแรง ผู้คนอดอยากล้มตายเป็นจำนวนมาก ซากศพถูกทอดทิ้งเกลื่อนนคร ภูตผีปีศาจทำอันตรายแก่หมู่มนุษย์โรคระบาดเกิดขึ้นแพร่กระจายไปทั่ว ผู้คนล้มตายเหลือที่จะนับได้ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนทเถระสวดรัตนสูตรและประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ภัยพิบัติร้ายแรงเช่นนี้ก็ยังระงับลงได้อย่างฉับพลัน



จริงอยู่ว่า พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ในมหาศีลว่า

ภิกษุเว้นจากการทำ เดรัจฉานวิชชา หรือ ห้ามทำน้ำมนต์
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังสำเร็จการเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชา เห็นปานนี้อยู่คืออะไรบ้าง ? คือ บนขอลาภผลต่อเทวดา ทำการบวงสรวงแก้บน สอนมนต์กันผีกันบ้านเรือน ทำกะเทยให้เป็นชาย ทำชายให้เป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำการบวงสรวงในที่ปลูกเรือน พ่นน้ำมนต์ บูชาเพลิงให้บ้าง ประกอบยาสำรอกให้บ้าง ประกอบยาประจุ ประกอบยาถ่ายโทษข้างบน ประกอบยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมัน หยอดหู ทำยาหยอดตา ประกอบยานัตถ์ุ ประกอบยาทำให้กัด ประกอบยาทำให้สมาน เป็นหมอป้ายยาตา เป็นหมอผ่าบาดแผล เป็นหมอกุมาร หมอพอกยาแก้ยาให้บ้างส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอเว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชา เห็นปานนั้นเสียแล้วแม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

(ภาษาไทย) สี. ที. ๙/๕๙/๑๐๓. : คลิกดูพระสูตร




หากดูโดยบริบทของการทำน้ำมนต์นั้น เป็นละอย่างกัน ในเรื่องของการพรมน้ำ หรือการ หลั่งทักษิโณทก ของพระเจ้าพิมพิสารเมื่อถวายวัดเวฬุวัณ แก่พระพุทธเจ้า





"มหาชนก็ถือรัตนะทั้ง ๗ ตามความต้องการ พระราชาทรงจับสุวรรณภิงคารอีก ทรงประพรมด้วยน้ำว่า ราชกิจของเราดำเนินตั้งต้นแต่นี้ไป แล้วเสด็จกลับ."



ถ้าดูจากบริบทนี้ การประพรมน้ำอาจจะไม่เหมือนกับการประพรมน้ำมนต์อย่างที่เราเข้าใจกัน สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นธรรมเนียมเพื่อแสดงสัญญลักษณ์ไรซักอย่าง คล้ายๆกับเรื่องการหลั่งน้ำ
พระเจ้าพิมพิสารถวายสวนเวฬุวันให้เป็นวัดแก่พระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก พระเวสสันดรในคราวที่จะยกลูกให้กับชูชกก็มีการหลั่งน้ำ เพื่อเป็นการแสดงออกว่าได้ให้ทานนั้นนั่นเอง มิใช่เดรัจฉานวิชชา หรือน้ำมนต์ในบริบทของมหาศีลแต่อย่างใด





การหลั่งน้ำทักษิโณทกในพระราชพิธี เพื่อแสดงออกถึง การเสร็จสิ้นในพิธีกรรมเชิงสัญลักษณ์

การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ประกาศอิสรภาพของ สมเด็จพระเนรศวรมหาราช 
ภาพจากหนัง พระนเรศวรมหาราช


อายสฺมา อานนฺโท ปริตฺตตฺถาย ภาสมาโน ภควโต ปตฺเตน
อุทกมาทาย สพฺพํ นครํ อพฺภุกฺกิรนฺโต อนุวิจริ ฯ

แปลว่า: ท่านพระอานนท์ผู้มีอายุ ผู้สวดอยู่ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันรักษา ถือเอาแล้วซึ่งน้ำด้วยบาตรของพระผู้มีพระภาค ประพรมอยู่ ทั่วพระนคร เที่ยวไปแล้วโดยลำดับ
____________________________
ปุน จ ปรํ ราชา จกฺกวตฺตี วาเมน หตฺเถน สุวณฺณภิงฺคารํ (๒)
คเหตฺวา ทกฺขิเณน หตฺเถน จกฺกรตนํ อพฺภุกฺกิรติ ปวตฺตตุ
ภวํ จกฺกรตนํ อภิวิชินาตุ ภวํ จกฺกรตนนฺติ ฯ

แปลว่า: อีกประการหนึ่ง พระราชาผู้เป็นเจ้าจักรพรรดิถือเอาแล้วซึ่งสุวรรณภิงคารด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงประพรมอยู่ซึ่งจักรรัตนะด้วยพระหัตถ์ขวา "ท่านจงเป็นไป จักรรัตนะ ท่านจงมีชัย จักรรัตนะ" ดังนี้
____________________________
ปุน ราชา สุวณฺณภิงฺคารํ คเหตฺวา อิโต ปฏฺฐาย มม รชฺชนฺติ อุทเกน อพฺภุกฺกิริตฺวา นิวตฺตติ ฯ

แปลว่า: พระราชา ถือเอาแล้ว ซึ่งสุวรรณภิงคาร อีก ทรงประพรมแล้วด้วยน้ำว่า "ความเป็นพระราชา ของเรา ตั้งแล้ว แต่นี้" ย่อมเสด็จกลับ


คำที่แปลว่า ประพรม ก็คือ อพฺภุกฺกิร (อภิ+อุ+กิร) = ซัดออกไป, ทำให้กระจายออกไป (เมื่อใช้กับน้ำจึงแปลเป็น "ประพรม")

ส่วนใน ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
ข้อ [๒๕], [๑๒๐], [๑๖๓], [๑๙๕], [๒๓๕], [๒๕๕], [๒๕๖], [๒๗๐], [๒๗๙], [๓๒๐], [๓๔๒], [๓๖๓], [๓๘๓]
ใช้คำว่า อาจมนํ และ นฺหาปนํ

อาจมนํ (การชำระล้าง) ภาคภาษาไทยแปลว่า พ่นน้ำมนต์
อรรถกถาอธิบายว่า "อาจมนํ ได้แก่ ใช้น้ำล้างปากให้สะอาด." ::: ตรงนี้น่าจะแปลว่า "การชำระล้างหน้าให้บริสุทธิ์" มากกว่า พิจารณาจากตัวบาลี ::(อุทเกน มุขสุทฺธิกรณํ)"


โดยบริบทในอินเดียมีความเชื่อในเรื่องของการล้างบาป โดยจะใช้น้ำในการล้างบาป ดังนั้น อาจมนํ (การชำระล้่าง) และ นฺหาปนํ (การอาบน้ำ) ก็น่าจะเป็นเรื่องทำนองนี้ แต่ที่ท่านแปลว่าพ่นน้ำมนต์-รดน้ำมนต์คงจะมาจากการแปลตามบริบทสังคมไทยที่พบเห็น แต่ก็เอาล่ะ ถึงแม้ถ้าดูตามศัพท์แล้วมันจะไม่ใช่เป๊ะ ๆ ก็ตาม แต่ก็จัดว่าการเป่าน้ำมนต์พ่นน้ำหมากอยู่ในกลุ่มเดรัจฉานวิชานี้เอง คนที่มีพระธรรมวินัยเป็นสาระคงจะไม่ยุ่งกับเรื่องพวกนี้แน่นอน




ภาพพราหมณ์ในศาสนาฮินดูล้างบาปในแม่น้ำคงคา





ตัวอย่างการใช้คำว่า นฺหาปน-การอาบ ในที่อื่นๆ

ยถา วา ปเนเก โภนฺโต สมณพฺราหฺมณา สทฺธาเทยฺยานิ
โภชนานิ ภฺุชิตฺวา เต เอวรูป มณฺฑนวิภูสนฏฺานานุโยคํ อนุยุตฺตา วิหรนฺติ ฯ เสยฺยถีทํ ฯ อุจฺฉาทนํ (๑) ปริมทฺทนํ (๒) นฺหาปนํ (๓) ...

ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตกแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เห็นปานนี้ คือ อบตัว (๑) ไคลอวัยวะ (๒) อาบน้ำหอม (๓)

ทฺวินฺนาห ภิกฺขเว น สุปฺปฏิการ วทามิ กตเมส
ทฺวินฺน มาตุ จ ปิตุ จ ฯ เอเกน ภิกฺขเว อเสน มาตร
ปริหเรยฺย เอเกน อเสน ปิตร ปริหเรยฺย วสฺสสตายุโก วสฺสสตชีวี
โส จ เนส อุจฺฉาทนปริมทฺทนนฺหาปนสมฺพาหเนน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้ง ๒ ท่าน ทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดา ด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่งเขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขา พึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด [การให้อาบน้ำ] และการดัด

แสดงว่า นฺหาปน = การอาบ เป็นคำกลางๆ จะหมายถึงอาบอะไรก็ได้ แล้วแต่บริบท ถ้าในบริบทแบบไทยๆก็อาจจะใช้หมายถึงอาบน้ำมนต์ก็ได้เหมือนกัน เพราะน้ำมนต์ก็จัดเป็นเดรัจฉานวิชาอยู่แล้ว



ถ้าเป็นลักษณะที่ประกอบด้วย 'โมหะ' แน่นอนว่า การใช้น้ำรด หรือชำระล้างเป็นเดรัจฉานวิชชาแน่นอน


ขันน้ำมนต์ ที่ทำให้ชาวบ้านเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์


พิธีเป่าเสก


รดน้ำมนต์เหมือนการชำระบาปของพราหมณ์ ฤาษีชีไพร


บทสรุป


สาธุชน พึงแยกประเด็นให้ออกเถิดว่า
1. พระพุทธเจ้าสั่งห้ามทำเดรัจฉานวิชชา สั่งห้ามทำน้ำมนต์ โดยมีความคิดเชื่อว่า 'ล้างบาปได้'  มิฉะนันศาสนาพุทธ ก็มิต่างอะไรจากศาสนาเทวนิยม ที่ลงไปล้างบาปในแม่น้ำ หรือถือศีลจุ่มล้างบาปแต่อย่างใดเลย นี่มิใช่คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่จะมาสอนทำน้ำมนต์ และสงฆ์มีอาบัติอีกด้วย

2. น้ำมนต์ในลักษณะการชำระล้าง เป็นเดรัจฉานวิชชา
3. การหลั่งน้ำทักษิโณทก เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ (เช่นกรวดน้ำ พรมน้ำ รดน้ำลงดิน)ไม่ใช่เดรัจฉานวิชชา เป็นสเมือนแค่การให้ทราบว่า การกระทำนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ทำบุญเสร็จแล้ว  
4. เป็นในแง่ของสำนวนการ 'แปล' บาลี ที่ใช้คำศัพท์คนละคำ โดยตามบริบทของสังคมไทย ที่ใช้ลักษณะ เหมารวมเหมดว่า การ 'ประพรม'หรือหลั่งทักษิโณทก กับการ อาบน้ำล้างบาปเพื่อรดน้ำมนต์นั้นเป็นสิ่งเดียวกัน

อย่าแอ๊บเนียนว่า พระพุทธเจ้าสั่งพระอานนท์ทำ 'น้ำมนต์'
อย่าเหมาว่า การรดน้ำ 'ทุกชนิด' คือน้ำมนต์ รวมถึงพุทธมนต์  

ในบท พุทธมนต์นั้น สาระสำคัญเกี่ยวกับ 'สัจจะวาจาทั้งสิ้น' จึงทำให้เภทภัยหายไป มิใช่เกี่ยวกับน้ำที่ประพรมแต่อย่างใด   น้ำที่ปะพรม เป็นเพียงการกระทำเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น  

และมิได้มีการเอาเทียนหยด เป่าเสก ทำพิธี เหมือนที่เราเห็นกันทุกวันนี้เลย


ดังนั้น หยุดเถิด ทั้งผู้ที่เหมารวมว่าพุทธมนต์เป็นเดรัจฉานวิชชา และ ผู้ที่บอกว่า
พระพุทธเจ้าสั่งพระอานนท์ทำน้ำมนต์
เป็นการกล่าวตู่ทั้งพระผู้มีพระภาค และพระอานนท์อย่างรุนแรง






กรณีพระคึกฤทธิ์ โสติผโล เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง บิดเบือนบาลี

คึก สติแตกเด้อ 55
ท้าตีท้าต่อย !
คึกฤทธิ์ของขึ้นกลางวัดเนินพระระยอง
ตอบคำถามสุดกวน
"ถ้าไม่เชื่อพระเจ้าอโศก ถ้างั้น ท่านห่มจีวรทำอะไร"
ตรงประเด็น "พุทธวจนะ" ไหมคะโยม
ตกลงพุทธวจนคือพระเจ้าอโศกนั่นเอง


(ลิงค์เต็ม : https://www.youtube.com/watch?v=RP4sqaOB38U )




ถามดีๆ ท้าตีท้าต่อย ถามบ่อยๆ ท้าต่อยท้าตี
ตอบคำถามโยม "จ๊ะจ๋า" ตอบปัญหาพระ "นักเลง"

Beleave in me !

ไม่ต้องแก้คำ คำของศาสดาตถาคต บริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ในตัวแล้ว
"สกิเทว แปลว่า เทวดาครั้งเดียว"





นี่สิ พุทธวจนะ ตัวจริง เสียงจริง
"ถ้าเกิดปัญหาให้ไปเลียขาวัดปากน้ำ"

อะฮ่ะ ! ตะทีมอมเมาเป่าหูสาวกนั้น ย้ำคิดย้ำทำ "ต้องรู้จักตั้งคำถามด้วยสติปัญญา อย่าเชื่อตามครูบาอาจารย์บอก ขนาดอรรถกถายังเชื่อไม่ได้เลยโยม ต้องเชื่อพุทธวจนะเท่านั้น" ครั้นพระสงฆ์ด้วยกันถามมั่ง ก็บันดาลโทสะตอบว่า "ถ้าไม่เชื่อ จะนุ่งผ้าเหลืองไปทำไม" แหมความจริงมันต้องสอนตัวเองสิ ว่าถ้าไม่เชื่อถือครูบาอาจารย์แล้ว "คุณจะบวชทำไม" บวชกับพระพุทธเจ้าได้ไหม

คึกฤทธิ์เอ๋ย หลังจากคลานเข้าวัดปากน้ำวันนั้น มันก็หมดค่าในสายตาปัญญาชนแล้ว เพราะมันเป็นดานนักการเมือง มิใช่นักการศาสนาแต่อย่างใดเลย ยิ่งแปลบาลีแบบ "โคตรมั่ว"

สกิเทว แปลว่า เทวดาครั้งเดียว
เล่นเอาเณรเรียนบาลีไวยากรณ์ยิงฟันกันทั้งประเทศ โถถัง ศาสดาคึกฤทธิ์โง่เง่าปานนั้นเชียวหรือ ไวยากรณ์ขั้นพื้นฐานยังไม่ผ่าน แต่สะเออะไปแปลพระไตรปิฎก มันก็แค่ "จำขี้ปากเขามาว่า" เท่านั้น คึกฤทธิ์เอ๋ย

ดูแต่วันนี้ไง ไปวัดเนินพระ คุยโวเรื่องประวัติศาสตร์พระเจ้าอโศก แบบกูรู้อยู่คนเดียว พอมีพระที่ท่านรู้เรื่องมั่งมาถาม ก็ตอบแบบสันดานดิบไปเลย สาวกพุทธวจนะน่าจะทำเป็นซีรี่แจกจ่ายทั่วโลกนะ จะได้เอาไว้พิจารณา "สันดาน" อาจารย์ของตัวเอง

ว่าแต่ก็น่าสงสาร "กองทัพไทย" นะ มีบุคคลากรระดับ "นายพัน" มาบวช ตั้งตนเองเป็นศาสดาแห่งพุทธวจน แต่โง่ไม่พอ ยังอันธพาลอีก "บิ๊กตู่" ไม่เชิญไปอบรมทหารในกองทัพเหรอ เด็ดๆ ขาดๆ แบบนี้ รับรองว่าใครเถียงเป็นโดนเบิ๊ดกะโหลก

เสาอโศกที่ลุมพินี หนึ่งในอนุสรณ์สถานของพระเจ้าอโศก ในการเสด็จเยือนพุทธภูมิ ซึ่งก็มีจารึกบอกเพียงเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์ไว้เพียงนิดหน่อยเท่านั้น แต่คึกฤทธิ์กลับแปลงสารเสียใหญ่โตว่า "เป็นจารึกพุทธวจนะ" ไม่รู้ว่าเคยไปอินเดียและเนปาลหรือเปล่า หรือว่าเอาแต่ไปเที่ยวเท่านั้น

ขอบคุณข่าวจาก
อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม รายงาน

18 พฤศจิกายน 2557

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความหมายของคำว่าพระ

ในทุกวันนี้ เรามักจะได้ยินข่าวเสื่อมเสียจาก นักบวชห่มผ้าเหลืองสม่ำเสมอ แล้วมักพูดคำว่า 'พระ'




สุดทน! แจ้งจับพระเขมรอาละวาด บิณฑบาตรับแต่เงินสดชาวบ้านสุดทน! แจ้งตำรวจเชียงใหม่มาสแกนพระจากเขมร หลังนำอาหารคาวหวานมาใส่บาตร แต่กลับไม่รับ รับแต่เงินสด คุมตัวไปลาสิกขา ดิ้นไม่ยอมสึก อ้างไม่มีความผิด ตร.ทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากยังอยู่ในชายผ้าเหลือง ทำได้แค่ผลักดันออกนอกประเทศ


คำว่า 'พระ' แท้จริงมาจากคำว่า 'วร' บาลี อ่านว่า 'วะ-ระ' แปลว่า ผู้ประเสริฐหากมีคำว่าสงฆ์​  



คำว่า สงฆ์ หรือ สังฆะ  แปลว่า ผู้ลอยแล้วจากบาป
ในนิยามของพระผู้มีพระภาค จากบทสวดสรรเสริญพระสังฆคุณคือ
  คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับรวมได้ 8 บุรุษ
ได้แก่  ผู้ปฏิบัติได้
โสตาปัตติมรรค โสตาปัตติผล สกิทาคามีมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหันตมรรค อรหันตผล


ส่วนสมมติสงฆ์นั้น หมายถึง สงฆ์ปุถุชนตั้งแต่  ๔ รูปขึ้นไป และต้องมีศีลบริบูรณ์ (คือไม่ผิดอาบัติ 227 ข้อ คือ ปลงอาบัติมาแล้ว หรือไม่มีอาบัติติดตัวเลย)

ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า การทำบุญกับสงฆ์นั้น ยากเย็นเสียจริงๆ เพราะจะหาผู้มีคุณสมบัติดังกล่าวเช่นนั้นยากมาก


ขอความกรุณา ศาสนิกชนและสื่อทั้งหลาย พึงอย่าใช้คำว่า 'พระ' กับบุคคลเหล่านี้เลย   คนเหล่านี้นั้น เป็นเพียง เศษซากศพ เดินได้ หรือ อลัชชีชั่วที่มาหากินกับพุทธศาสนาเท่านั้น

ดังพุทธพจน์ว่า



             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม มีความประพฤติไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว ไม่ใช่สมณะปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เสียใน ชุ่มด้วยราคะเป็นดุจหยากเยื่อ สงฆ์ไม่ยอมอยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แต่เขาก็ชื่อว่าห่างไกลจากสงฆ์และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา เปรียบเหมือนมหาสมุทร ไม่เกลื่อนกล่นด้วยซากศพเพราะคลื่นย่อมซัดเอาซากศพในมหาสมุทรเข้าหาฝั่ง ให้ขึ้นบก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม ... และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขานี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาประการที่ ๓ ... ฯ




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต